วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาจเป็นช่วงเวลาเก็บเซียน ( บทเรียนจากปี 40 )

หากใครได้เห็นกราฟช่วงปี 37 ที่ลากจาก 1500 ไป 1700 รวดเดียวคงสังเกตุเห็นอะไรแปลกๆ

พอดีผมอยู่ในเหตุการณ์นั้นครับ...พอจำเข้าลางได้

ในช่วง 1500 จุดตัวเลขทางเศรษฐกิจและนโยบายผิดๆต่างๆเริ่มโชยออกมา

ประกอบกับตลาดทำท่าจะไม่ไปต่อด้วยด้านเทคนิค

เหล่าบรรดาเซียน ( Rational Investor ) หลายคนที่เก็บหุ้นมานานก็พากันปล่อยหมูตรงนั้นกันหมด

พ่อผมเองตอนนั้นเก็บหุ้นมาตั้งแต่สงครามตะวันออกกลางมีคนวงในมาเตือนเรื่องค่าเงินบาทยังปล่อยออกไปเลยแถวๆนั้น

พูดง่ายๆ...คนที่ออกของตรงนั้นหลายคนเป็นทั้งนักวิชาการ,เซียนวีไอ,นัก เทคนิคและคนวงในระดับนึงตลาดจึงออกไปทางเซเล็กๆจนคนวงนอกที่เก่งหลายคนก็กัด ฟันปล่อยไปเหมือนกัน

อีทีนี้ก็จะเหลือคน 2 จำพวกในตลาด คือ คนที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจอะไรเลย กับ คนที่เชื่ออย่างเดียวว่าไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของอาเซียนจริงๆ ( ตอนนั้นพวกมันเต้าข่าวนี้อธิบายถึงการขึ้นของตลาดหุ้นเพราะตอนนั้นเราเพิ่ง เปิดเสรีทางการเงินไม่นาน )

พอคนที่ไม่เชื่อในตลาดออกไปกันเยอะ ( พวกคิดถูก ) เหลือแต่พวกเม่าที่เข้าใจกันผิดๆจ้าวมือจึงใช้วิธีลากติดๆแรงๆเป็นสัปดาห์ จาก 1500 ไป 1700 รวดเดียว จนคนที่เคยไม่เชื่อเรื่อง'ศูนย์กลางการเงินอาเซียน'เริ่มโลเลในความคิดเพราะ เสียดายหลายคนเข้าไปคลุกใหม่ตอนใกล้ 1700 หลายคนเข้าไปใหม่ตอนปรับฐานแรงๆวันแรก ( เช่นพ่อผม ) ที่สำคัญแต่ละคนอัดแต่หุ้นไฟแนนซ์ธนาคารล้วนๆซื้อแล้วไม่เฝ้าเพราะเริ่มขาด สติจากความเสียดายถึงเวลาลงต่ออีกไม่กี่วันไม่มีใครคัททันซักคน
 พอคนที่ใช้หลักเหตุผลลึกซึ้งเริ่มเสียสติกลายเป็นคนขาดเหตุผล ( Irrational ) ตลาดจึงเล่นง่ายด้วยการลากยาวพรวดๆๆๆ ( ซึ่งแน่นอนหากไม่ไล่พวกรู้ทันออกไปก่อนการลากตรงนี้จะไร้ประโยชน์เพราะพวก รู้ทันคงขายแน่ๆ ) เพราะรายเม่าก็จะนั่งทนรวยอ่านนสพ.เจอแต่ข่าวดีๆจนกว่าจะเห็นประเทศเราเป็น ศูนย์กลางทางการเงินจริงๆเพราะเชื่อด้วยสถานการณ์หลังปฏิวัติรสช.ฝรั่งกลับ มั่นใจในการเมืองประเทศ

แต่เหตุผลเดียวที่เซียนๆที่รู้ทันดันกลับเข้าไปใหม่ทั้งๆที่ตัวเองรู้อะไร ต่ออะไรนั่นก็คือความเสียดาย,ความโลภและความไม่ยอมแพ้จนขาดสตินั่นเอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้คล้ายกันคือ ทองคำ นั่นเอง

ในช่วงที่ทองคำ Side Way 1470 - 1500 หากยังจำได้มีเซียนๆทั้งในทางเทคนิคและพื้นฐานเศรษฐกิจหลายคนออกมาเตือน เรื่องทองคำ ( ก่อนหน้านั้นโลหะเงินเจอทุบไปแล้วจึงทำให้เห็นภาพชัด ) หลายคนก็ขายหมุไปแถวๆนั้น

แต่ต่อมาทองคำก็ถูกลากรวดเดียวจาก 1550 ไป 1830 รวดเดียวจนเกิด Panic Buy ( ผมเองขายหมูไปตรง 1830 )

พอมันไประเบิดตรง 1900 ตรงนั้นก็สร้างดอยกับคนที่ตกรถเที่ยวนั้นจาก 1550 ไป 1830 ( จากไม่'เชื่อ'กลายมาเป็น'เชื่อ' )

สบการณ์จากโลหะเงินเลยไม่รีบเข้า )ส่วนตัวผมเองก็ยังกลับไปสอยให้ตรง 1670 ด้วยเหมือนกันช่วงน้ำท่วม ( ทั้งๆที่ผมเป็นคน'เชื่อ'นะแต่บังเอิญประสบการณ์จากโลหะเงินเลยไม่รีบเข้าแต่ ไปแนะคนอื่นให้เข้าเยอะพอสมควร )

สุดท้ายมาจนป่านนี้ทองคำก็ยังดอยอยู่.....

มันถึงไม่แปลกไงที่ตอนทองคำระเบิดตรง 1900 มีเซียนหลายคนในประเทสเราที่ผ่านช่วงปี 40 มาบอกฟันธงว่า'ทองคำจบแล้ว'

ตามนั้นแหละครับท่านๆ.

เป้าหมายของจ้าวมือใหญ่คือทำให้คนโง่เป็นคนโง่ต่อไปและทำให้คนเก่งกลายเป็นคนโง่ด้วย

เกมส์ๆนี้มันเป็นของคนบ้าครับ...คนบ้าเหนือกว่าคนเก่งเหนือกว่าจ้าวมือ

โฮ่ๆๆๆๆๆ ว่าแล้วไปฝึกคัมภีร์สวรรค์รำไรของประมุขตงฟางต่อดีก่า เอิ๊คๆๆๆ
 มาดูสินธรเวฟ ดีกว่า

หากคนในห้องนี้อารมณ์ดีคึกคักสุดๆ=เป็นปลายขาขึ้นแล้ว
-หากมีการปล่อยข่าวเป้าจะขึ้นเท่านั้นเท่านี้=จวนพีคแล้ว
-หากมีเสียงโวยวายโทษคนอื่นเมื่อหุ้นตก=กำลังจะแพนิก
-ปลอบอกปลอบใจกันให้ต่อสู้ไม่ถอย=ยังจะตกต่อพอควร
-เงียบและเงียบหายโหรงเหรงโบ๋เบ๋=ปลายขาลงแล้ว
-มีออกข่าวว่าจะตกลงไปเท่าโน้นเท่านี้=ตลาดเจอbottom
-มีเสียงท้วงติงว่าแค่รีบาวนด์ให้รีบขาย=หุ้นจะขึ้นรอบใหญ่


ดูจากสินธรเวฟ แล้ว มีความน่าจะเป็น เป็นไปได้ว่า ตอนนี้ไม่ใช่จุดพีค
เพราะ แม้แต่ โบรค ยังให้เทรดด้วยความระมัดระวังเลย
 หุ้นจะขึ้น ถ้ากลัวลง เสียโอกาส รอลงจิงก่อน ค่อยปรับยังทัน
หุ้นจะลง ถ้ากลัวขึ้น ขาดทุนป่นปี้ รอขึ้นจิงก่อน ค่อยซื้อยังทัน


คนเตือนว่าหุ้นจะตกรอบสองปีที่ผ่านมา ผมเห็นมาตั้งแต่ 600 700 800.... จนตอนนี้ 1400 1500 
คนที่คอยให้ความหวังลมๆ แล้งๆว่าหุ้นจะขึ้น ตอน hamburger ครั้งที่แล้ว มีตั้งแต่ 800 700 600 จนตอนนั้นลงถึง 300 เช่นกัน


ปล. คหสต. ผมคิดว่าจุด peak รอบนี้ยังอีกไกล อย่างน้อยก้อไม่ใช่ปีนี้  รูปร่างลักษณะ กราฟ เศรษฐกิจ ข่าว ความคึกของคน มันยังต่างจากตอนนั้นมาก
 จะเห็นได้ว่าปี 37 นั้นช่วงที่หุ้นแรลลี่ยาวๆหลังรสช.คนกลัวแทบไม่มีเลย

มันมีคนกลัวกลุ่มแรกอยู่ที่ 1500 จุดเท่านั้นเอง

จาก 900 จุดขึ้นมามันเป็นช่วงดึงคนนอกเข้ามาเล่นหุ้น...ถามทำไม ?

นั่นก็เพราะก่อนหน้านั้นเกิดปัญหาในภาคอสังหาไงครับนักเก็งกำไรที่ดินเลยหันหัวมาเล่นหุ้นแทน

ทีนี้เรามาดูตลาดเราช่วงนี้ดูถึงแม้ที่ดินในกทม.จะไม่กระโดดมากมายแต่ที่ดินในตจว.กำลังสะพัดคนยังเล่นที่ดินกันมันส์อยู่เลย

ที่เงินรายย่อยเข้ามาสะพัดปีนี้เพราะทองคำมันระเบิดและทรุดไปรวมถึงตลาดคอนโดคนจำนวนไม่น้อยเลยหันหัวมาเล่นหุ้น

ผมว่าตลาดหากจะเกิดการเชือดเซียนกันน่าจะทำปีหน้าเพราะ AEC มาปี 2558

เชือดเซียนให้หมูตรงแถวๆ 1700  ทีนึงหากมาปีนี้ ( หากถึงอ่ะนะ ) แล้วลากต่อยาวไปถึงต้นปีหน้า...จนเซียนหันหัวไปเชื่อรอปี 2558

อย่าลืมว่ายังไงคนที่มัน'เชื่อ'มันก็จะเชื่อนั่นแหละครับ

พวกที่เชื่อเรื่อง AEC ต่อให้ SET วิ่งไป 2000 จุดก่อนปี 2558 เขาไม่ปล่อยหุ้นที่อมหรอก

คนไม่เชื่อก็อย่าใจร้อนปล่อยปีนี้.....รอให้กบ เอ้ย! คนมันตายใจกันจริงๆก่อน

เกมส์เก็บเซียนนี้ผมเดาว่ามันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง
ขอบคุณบอร์ดสีลม puntip .com

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

การหาหุ้นเพื่อลงทุนสร้างพอร์ทระยะยาว มันมีขั้นตอนอย่างไร จะเริ่มยังไง...

การหาหุ้นเพื่อลงทุนสร้างพอร์ทระยะยาว มันมีขั้นตอนอย่างไร จะเริ่มยังไง...

เวลามีคนถามว่า การหาหุ้นเพื่อลงทุน มันมีขั้นตอนอย่างไร จะเริ่มยังไง ...

ตอบแบบพอร์ทระยะยาว แนว Fundamental VI แท้ๆ ให้ทำตาม Peter Lynch จากหนังสือ Beating The Street บทที่ 1 เรื่อง มหัศจรรย์ที่โรงเรียน Saint Agnes เค้าให้เด็ก Grade 7 เลือกหุ้นแล้วตามดู เด็กทุกคนเลือกหุ้นอย่างเปนธรรมชาติ และสามารถอธิบายฉอดๆได้ว่า ธุรกิจที่เลือกๆเพราะอะไร ขายอะไร ดีกว่าคู่แข่งอย่างไร และมันจะ “โต” ด้วยอะไร ... สิ่งที่พบคือผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ทเด็กเกรด 7 ไม่แพ้ผจก.กองทุนครับ จึงเป็นที่มาของพอร์ทยาว ที่ผมแนะนำทุกท่านควรต้องมีติดตัว ซื้อทางเดียว สะสมหุ้นดีๆเข้าพอร์ท เลือกเอาหุ้นเติบโต

สำหรับนักลงทุนมือใหม่ การเลือกหุ้นเติบโตซักตัวนึง ผมขอแนะขั้นตอนดังนี้

1. เลือกเทรนด์ ... สมมติชอบเทรนด์ Mobile Lifestyle คือ ชีวิตติดมือถือ

2. เลือกอุตสาหกรรม … สิ่งที่ support มีตั้งแต่หุ้นโทรศัพท์มือถือ (Advanc dtac True) หุ้นค้าส่งมือถือ (MLink TWZ JMART) หุ้นค้าส่ง IT (SIS SYNEX SVOA IT) หุ้นรับเหมาโทรคม (SAMTEL, FORTH, AIT, SAMART, LOXLEY)และหุ้นโครงข่าย (JAS SYMC) เราเลือกกลุ่มที่ดีที่สุดมาเลย ... สมมติชอบหุ้นโทรศัพท์มือถือ

3. เลือกตัว ... เทียบ Advanc dtac True เทียบทั้ง Quantitative Analysis ดูงบ และ Qualitative Analysis ดู Growth Story, ความต้องการสินค้า/บริการที่ผลิตได้ ยังดีในระยะยาวหรือไม่, ดูความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เช่น ได้เปรียบเพราะเงื่อนไขการทำธุรกิจดีกว่า ได้เปรียบเพราะ Brand หรือ ได้เปรียบเพราะ Economy of Scale เราต้องอธิบายมันได้

4. รอเข้าตอนตลาดย่อตัว ... หรือ เข้าซื้อเฉลี่ยทุกๆเดือนไปเลย

ทำแบบนี้กับเทรนด์ที่เราเชื่อ เอาซัก 5 ตัว เต็มที่อย่าเกิน 10 ตัว ครับ ประมาณนี้แหละ ผมก็ทำแบบนี้อ่ะนะ
 พี่นิ้วโป้ง Stock2morrow

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถึงธุรกิจที่ช่วยทำประโยชน์ให้สังคม ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างภาวะแวดล้อมที่ดี ไม่สร้างปัญหา และทำธุรกิจแบบมืออาชีพ มีธรรมาภิบาล

วันนี้จะเชิญชวนพวกเรามาบอกกล่าวกันถึงธุรกิจที่ช่วยทำประโยชน์ให้สังคม ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างภาวะแวดล้อมที่ดี ไม่สร้างปัญหา และทำธุรกิจแบบมืออาชีพ มีธรรมาภิบาล ควรแก่การยกย่อง
ผมจะขอเริ่มก่อนนะครับ
.........................
ธุรกิจที่ผมเห็นและสัมผัสได้ในความเอื้อเฟื้อต่อสังคม
...กลุ่มแรกคือกลุ่ม แลนด์แอนด์เฮ้าส์
นอกจากการทำธุรกิจอย่างมืออาชีพ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคแล้ว
ที่ผมเห็นด้วยตาคือประธานกลุ่มค...อคุณอนันต์ จะพยายามทุกวิถีทางไม่ให้มีการขายสุราในพื้นที่เช่าของกิจการในกลุ่ม
...กลุ่มที่สองคือกลุ่มเครือข่ายซีเอ็ด
ในร้านซีเอ็ดจะไม่มีสิ่งผิดศีลธรรมขาย ทำตรงไปตรงมา
รับผิดชอบต่อสังคม เป็นธุรกิจที่สร้างเสริมสิ่งที่ดีให้สังคม
...กลุ่มต่อมาคือกลุ่มอัมรินทร์พริ้นติ้ง
คล้ายกับซีเอ็ด ทำธุรกิจที่สร้างเสิรมสังคม ไม่มอมเมา
...กลุ่มต่อไปคือกลุ่มไทยแสตนเล่ย์ ที่ทำธุรกิจตรงไปตรงมา รับผิดชอบ ไม่เอาเปรียบลูกค้าและนักลงทุน
...กลุ่ม S&P ก็มีความรับผิดชอบสูงมาก เลือกของที่มีคุณภาพ (ซึ่งทำให้ราคาแพงขึ้น)
ไม่ขายสุราสิ่งมอมเมาในร้าน ทั้งๆที่น่าจะทำรายได้ได้แยะ
...กลุ่มเครือข่ายร้านอาหาร เช่น MK ก็น่านับถือ
เลือกสรรแต่ของที่ดีไม่เป็นพิษ
ใครที่ไป รพ.ศิริราช ตึกใหม่ริมน้ำที่บริการแบบเอกชน จะเห็น MK เอาร้านทุกประเภทเข้าไปขาย และยกรายได้ทั้งหมดให้ศิริราช..อนุโมทนาครับ
......................
บริษัทอีกไม่น้อย ทั้งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่ได้อยู่ในตลาด
ก็ดำเนินธุรกิจแบบมีธรรมาภิบาล รับผิดชอบต่อสังคม และน่ายกย่อง
แต่ผมรู้ไม่หมด ไม่ได้สัมผัส เลยอาจจะไม่ได้บอกกล่าวกัน
....................
เชิญชวนพวกเรามาช่วยกันประกาศกิตติคุณกิจการที่ทำดีกับสังคมครั
ไม่ว่าเล็กใหญ่ ระดับชาติหรือร้านข้าวผิดริมถนน
ช่วยกันบอกกล่าวครับ
See More

เครดิตสวิส ชู 3 สูตรการลงทุนพิชิตหุ้นช่วงขาลง


เครดิตสวิส ชู 3 สูตรการลงทุนพิชิตหุ้นช่วงขาลง
---------------------------------------------------

นิวยอร์ค--13 มี.ค.--รอยเตอร์ (เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย และจิตร โพธิ์แก้ว แปล ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

... คณะกรรมการการลงทุนของธนาคารสหรัฐในเครือเครดิต สวิส กรุ๊ป
ได้เปลี่ยนมุมมองการลงทุนต่อหุ้นทั่วโลก หลังจากมีท่าทีระมัดระวังต่อการลงทุนก่อนหน้านี้ ขณะที่เสนอ 3 แผนการลงทุนรับมือภาวะตลาดหุ้นช่วงขาลง

"สภาพคล่องจำนวนมาก มูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูดใจ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ
ทำให้หุ้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดสรรสินทรัพย์" ทีมเจ้าหน้าที่กลยุทธ์นำโดย บาร์บารา ไรน์ฮาร์ด หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนของธนาคาร กล่าว

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์รู้สึกวิตกในช่วงต้นเดือน ก.พ.จาก ภาวะชะงักงัน
ทางการเมืองในสเปนและอิตาลี วิกฤติสภาคองเกรสสหรัฐจากมาตรการตัดงบรายจ่ายโดยอัตโนมัติ (sequestration) ในสหรัฐ การเจรจาเรื่องความ
ช่วยเหลือทางการเงินสำหรับไซปรัส และกระแสการลงทุนในกองทุนรวม

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พวกเขาแนะนำให้นักลงทุนเฝ้าระวังสำหรับการลงทุนในหุ้นในช่วง 1-6 เดือนข้างหน้า

อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์ที่แล้ว พวกเขาตัดสินใจว่า ประเด็นต่างๆ ในยุโรปเป็นเรื่องเฉพาะแต่ละประเทศมากกว่าเกี่ยวข้องกับทั้งระบบ ขณะที่ธนาคารกลางของสหรัฐและยุโรปจะดำเนินนโยบายกระตุ้นทางการเงินต่อไป

นักยุทธศาสตร์การลงทุนระบุว่า ถึงแม้ดัชนี S&P 500 กำลังพุ่งขึ้น
เข้าใกล้สถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ในเดือนต.ค.2007 แต่นักลงทุนก็ควรกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง โดยใช้วิธีลงทุนแบบแบ่งเป็นช่วง

นักยุทธศาสตร์การลงทุนระบุว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ที่นักลงทุน
จะรู้สึกกังวลต่อการลงทุนในหุ้น หลังจากที่ตลาดเคยประสบภาวะหมี 2 ครั้ง
เป็นเวลายาวนานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้นักลงทุนกำลัง "ถือ
เงินสดจำนวนมาก ถึงแม้ตลาดหุ้นให้อัตราผลตอบแทนที่ดีในช่วง 2-3 ปี
ที่ผ่านมา"

นักวิเคราะห์ของเครดิต สวิสระบุว่า แทนที่นักลงทุนจะทุ่มเงินสด
ทั้งหมดที่ตนเองมีอยู่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพียงครั้งเดียว พวกเขาควร
แบ่งเงินเข้าลงทุนทีละขั้นตอน โดยเลือกใช้แผนยุทธศาสตร์แผนใดแผนหนึ่ง ใน 3 แผนดังต่อไปนี้

แผนที่ 1 คือการลงทุน 25 % ในหุ้นทุกๆ 3 เดือน ในช่วง 1 ปีข้างหน้า
แผนที่ 2 คือการลงทุน 1 ใน 3 ในหุ้นทุกๆ 6 เดือน
แผนที่ 3 คือการลงทุน 50 % ในขั้นต้น และลงทุนอีก 25 % เป็นจำนวน
2 ครั้งในช่วง 6 เดือนต่อมา

นักยุทธศาสตร์การลงทุนระบุว่า "ถึงแม้เรารู้ว่าการทุ่มเงินลงทุน
ทั้งหมดในครั้งเดียวเป็นสิ่งที่ให้อัตราผลตอบแทนดีที่สุดในระยะยาว แต่แผน
ยุทธศาสตร์การลงทุนแบบแบ่งเป็นช่วงๆ ก็จะช่วยให้นักลงทุนในตลาดหุ้น
สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ในกรณีที่ตลาดหุ้นอ่อนตัวลง"

นักยุทธศาสตร์ได้วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนระยะ 12 เดือนในดัชนี
S&P 500 นับตั้งแต่ปี 1926 เป็นต้นมา พบว่าการลงทุนแบบทุ่มเงินทั้งหม
ในครั้งเดียวให้อัตราผลตอบแทน 11.0 % ในขณะที่การลงทุนแบบแบ่งเป็น
ช่วงๆ จะให้อัตราผลตอบแทน 7.4-9.7 %

“ฟองสบู่..ดูอย่างไร?” : ดร.วิรไท สันติประภพ

“ฟองสบู่..ดูอย่างไร?”

ถ้าติดตามข่าวเศรษฐกิจช่วงนี้ จะเห็นความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ เพราะราคาสินทรัพย์หลายชนิดได้เพิ่มขึ้นเร็วมาก

ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคาที่ดิน การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ทำให้คนสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น แต่สนใจแบบกลัวๆ กล้าๆ เพราะถ้าเข้าไปในสภาวะฟองสบู่ อาจเจ็บตัวได้

สภาวะฟองสบู่เป็นโจทย์ยากสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ เพราะไม่สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะฟองสบู่ได้แม่นยำ โดยตอบไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยัง และส่งสัญญาณเตือนไม่ได้ว่าฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว จะแตกลงเมื่อใด หลายครั้งภาวะฟองสบู่ถูกปล่อยให้มีขนาดใหญ่มาก เมื่อแตกจึงกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และสร้างความเสียหายแก่คนในสังคม

ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกเกิดสภาวะฟองสบู่ใหญ่ๆ ขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ตื่นดอกทิวลิป ทั่วฮอลแลนด์ในช่วงกลางทศวรรษ 1630 ฟองสบู่ราคาที่ดินในอังกฤษจากแผนขยายเส้นทางรถไฟในช่วงทศวรรษ 1840 ?ฟองสบู่ราคาที่ดินในแคลิฟอร์เนียจากเหตุการณ์ตื่นทอง ฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นและฮ่องกง ฟองสบู่ราคาหุ้นในไทยก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ฟองสบู่หุ้นกลุ่ม dot-com ฟองสบู่ราคาบ้านและ sub-prime ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรปที่ยังสร้างปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ไปจนถึงฟองสบู่จตุคามรามเทพที่สร้างความตื่นเต้นกันอยู่พักใหญ่

ภาวะฟองสบู่เกิดจากความโลภของคนหมู่มาก ที่มีเหตุทำให้เกิดอาการตื่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งคล้ายกัน จนนำไปสู่พฤติกรรมเก็งกำไร หวังผลในระยะสั้น ฟองสบู่มักเริ่มจากข่าวเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ซึ่งข่าวเหล่านี้ไม่ได้ถูกเปิดเผย เป็นข่าวลือที่ทำให้คนไปเติมต่อ และกระพือต่อจนทำให้เกิดพฤติกรรมเก็งกำไรต่อไปเรื่อยๆ การกระพือข่าวเป็นปรากฏการณ์คู่กับภาวะฟองสบู่ เพราะคนที่เข้ามาเก็งกำไรก่อน ย่อมต้องการให้มีคนเข้ามาร่วมเก็งกำไรมากขึ้น เพื่อส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ช่วงแรกการเก็งกำไร อุปสงค์จะมากกว่าอุปทานเสมอ เมื่อมีอุปสงค์จากนักเก็งกำไรหน้าใหม่เข้ามา ราคาจะกระโดดสูงขึ้น เท่ากับตอกย้ำว่าผลประโยชน์ที่ลือกันว่าจะได้รับเป็นความจริง

ในช่วงหลังฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่มักได้รับแรงส่งจากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น การพิจารณาสินเชื่อก็ง่ายขึ้น เพราะหลักประกันมีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งในสภาวะฟองสบู่ จะเกิดปรากฏการณ์ซื้อง่ายขายคล่อง เจ้าของโครงการต่างมีหลักฐานการจองซื้อไปขอเบิกเงินจากสถาบันการเงินได้ง่าย ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้สถาบันการเงินเป็นแรงส่งสภาวะฟองสบู่ คือแรงจูงใจของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารของสถาบันการเงิน ถ้าสถาบันการเงินไหนปล่อยสินเชื่อได้มากกว่าคู่แข่ง ราคาหุ้นจะสูงขึ้น เพราะรายได้ดอกเบี้ยรับสูงขึ้นในขณะที่สินเชื่อที่ปล่อยใหม่ไม่ค่อยมีปัญหาการชำระหนี้ ส่วนผู้บริหารสถาบันการเงินนั้น โบนัสที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับผลกำไรของสถาบันการเงินในแต่ละปี จึงไม่นิยมที่จะมองไกลๆ โดยเฉพาะผู้บริหารสถาบันการเงินรุ่นหนุ่มสาวที่ไม่เคยผ่านสภาวะฟองสบู่มาก่อน เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นแรงส่งที่สำคัญของฟองสบู่ จึงมักเกิดวิกฤตระบบสถาบันการเงินขึ้นทุกครั้งที่ฟองสบู่ขนาดใหญ่แตก ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวรุนแรง และรัฐบาลต้องนำเงินภาษีมาอุ้มสถาบันการเงินที่มีปัญหา

แรงส่งที่ทำให้เกิดสภาวะฟองสบู่จะแรงขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากๆ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นเวลานาน เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ สถาบันการเงินก็ปล่อยสินเชื่อได้ง่าย ในขณะที่ผู้ออมได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินในระดับต่ำมาก จึงนิยมลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น บ้านหรือที่ดินโดยหวังว่าราคาสินทรัพย์เหล่านี้จะปรับสูงขึ้นเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

ในขณะที่เราเห็นข่าวความกังวลว่าสภาวะฟองสบู่อาจจะกำลังก่อตัวขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กลับตอบไม่ได้ชัดเจนว่าควรใช้เกณฑ์ใดตัดสินว่าเกิดสภาวะฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยัง แต่มักพิจารณาจากสี่มิติสำคัญ มิติแรก ราคาสินทรัพย์ได้ปรับสูงขึ้นเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นตามหลักทฤษฎีมากน้อยเพียงใด แต่ในทางปฏิบัติแล้วราคาตามหลักทฤษฎีจะขึ้นอยู่กับสมมุติฐานหลายด้าน ที่มักปรับสูงขึ้นไปพร้อมๆ กับราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ในช่วงต้นของการเกิดสภาวะฟองสบู่ เศรษฐกิจมักจะเติบโตดี ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ดีขึ้น คนจึงไม่ค่อยกังวลว่าราคาหุ้นปรับสูงขึ้นมาก แม้ว่าราคาหุ้นต่อกำไรหรือค่า P/E ratio จะกระโดดสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมาหลายเท่าตัว ในส่วนของบ้านอาจจะคำนวณราคาที่ควรเป็นตามหลักทฤษฎีได้ยาก เพราะราคาบ้านที่คนยินดีจ่ายขึ้นอยู่กับความพอใจและกำลังซื้อของแต่ละคน ในช่วงที่สถาบันการเงินแข่งกันปล่อยสินเชื่อ คิดเงินดาวน์ต่ำ อัตราดอกเบี้ยถูก และเปิดโอกาสให้ผ่อนได้นานหลายสิบปี คนที่กู้เงินซื้อบ้านก็ซื้อบ้านได้ราคาแพงขึ้น การคำนวณราคาสินทรัพย์ที่ควรจะเป็นตามหลักทฤษฎี จึงต้องมองไกลๆ และให้มีสมมุติฐานที่ครอบคลุมทั้งสภาวะฟองสบู่ และสภาวะที่เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง

มิติที่สอง ต้องติดตามการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่างๆ ว่ามีการใช้จริงตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด เรามักจะเห็นตึกร้างและบ้านร้างจำนวนมากก่อนที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จะแตก เพราะคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านเพื่อให้เช่าและเก็งกำไร ในทางปฏิบัติเราอาจจะดูได้ยากว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น จะใช้อยู่จริงมากน้อยเพียงใด เพราะแต่ละโครงการใช้เวลานานกว่าที่จะสร้างเสร็จ ผู้รู้บางคนแนะนำให้สังเกตจากของแถมที่โครงการต่างๆ โฆษณา ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่โครงการต่างๆ แข่งกันให้ของแถมประเภททัวร์เที่ยวเมืองนอก ชิงโชครถยนต์ หรือของแถมที่ไม่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านแล้ว ผู้ซื้อบ้านคงไม่มีเจตนาที่จะอยู่เอง

มิติที่สามต้องติดตามความถี่ของการซื้อขายสินทรัพย์แต่ละประเภท ถ้าราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับความถี่ของการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากด้วย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ากำลังเกิดสภาวะฟองสบู่ขึ้น เวลาที่เริ่มเกิดฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์ เราจะเห็นการซื้อขายใบจองหลายรอบก่อนที่โครงการจะสร้างเสร็จ สำหรับหุ้น ถ้าเห็นการซื้อขายหุ้นบางกลุ่มเปลี่ยนมือบ่อยจนผิดปกติ ให้เชื่อได้ว่าหุ้นเหล่านั้นกำลังอยู่ในสภาวะฟองสบู่ นอกจากจะดูความถี่ของการซื้อขายสินทรัพย์แล้ว จะต้องดูคนที่เข้ามาซื้อขายด้วย ถ้ามีรายย่อยหน้าใหม่ๆ จำนวนมากเข้ามาซื้อขายเพิ่มขึ้นแล้ว ให้เชื่อได้ว่าสภาวะฟองสบู่กำลังระบาดอย่างรวดเร็ว

มิติสุดท้าย คือมิติด้านจิตวิทยา ในช่วงที่เกิดสภาวะฟองสบู่ คนส่วนใหญ่จะมองโลกในแง่ดีไปหมด รัฐบาลมักจะบอกว่าราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นมาก บริษัทอสังหาริมทรัพย์แข่งกันออกโครงการต่างๆ และมีแต่ข่าวว่าปิดการขายได้รวดเร็ว สถาบันการเงินตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิเคราะห์หุ้นปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ราคาหุ้นจริงเข้าใกล้เป้าหมายเดิมที่คาดการณ์ไว้ ในช่วงที่สภาวะฟองสบู่ก่อตัวขึ้นนี้ คนส่วนใหญ่มักจะไม่รับฟังคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หลายคนเชื่อมั่นว่าถ้าฟองสบู่ใกล้จะแตกจริง ตนจะรู้ก่อน และออกได้ก่อนคนอื่น

นอกจากการตัดสินว่าเกิดฟองสบู่ขึ้นแล้วหรือยังจะเป็นเรื่องยากแล้ว การหยุดไม่ให้ฟองสบู่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า เพราะเป็นการทวนกระแสความโลภของคน และรัฐบาลส่วนใหญ่ชอบที่จะให้เกิดสภาวะฟองสบู่แบบอ่อนๆ เพราะจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเศรษฐกิจดี บางรัฐบาลเป็นผู้โฆษณาชวนเชื่อให้เกิดข่าวดีต่างๆ ขึ้น (โดยเฉพาะโครงการลงทุนใหม่ๆ) รวมทั้งสนใจแต่เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระยะสั้น ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพ สิ่งที่เราเรียนรู้จากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกหลายครั้งที่ผ่านมาคือถ้าปล่อยไว้จนเกิดสภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่แล้ว ไม่มีรัฐบาลไหนต้องการให้ฟองสบู่แตกในความรับผิดชอบของตน ไม่กล้าดำเนินมาตรการใดๆ ที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เพราะกลัวว่าจะทำให้ฟองสบู่แตกคามือ บางรัฐบาลกลับออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเพิ่มเติม บังคับให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อ หรือกดดันให้ธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อเห็นว่าฟองสบู่เริ่มอ่อนกำลังลง

โจทย์สำคัญของการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค คือจะต้องป้องกันไม่ให้สภาวะฟองสบู่ขยายตัวจนควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะสภาวะฟองสบู่ที่จะกระทบกับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ หรือความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน หน้าที่สำคัญของการแตะเบรกไม่ให้เกิดสภาวะฟองสบู่เป็นหน้าที่ของทั้งรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ การแตะเบรกฟองสบู่เป็นเรื่องทวนกระแสผลประโยชน์ของคน จึงไม่ค่อยมีใครอยากทำ แต่ทุกประเทศต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแตะเบรก และต้องกล้าที่จะแตะเบรกเมื่อเห็นสัญญาณการก่อตัวขึ้นของสภาวะฟองสบู่ แต่ในการแตะเบรกนั้นจะต้องรู้เท่าทันสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น มีข้อมูลที่ครบถ้วนและทันกาล รวมทั้งต้องช่วยกันทำให้ข่าวลือต่างๆ มีความชัดเจน โปร่งใส ไม่ถูกกระพือมากขึ้นเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่คนบางกลุ่ม

ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจสภาวะฟองสบู่มากขึ้น ถ้าท่านใดเห็นเค้าลางว่าฟองสบู่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว แต่เชื่อว่าจะสามารถออกได้เร็วกว่าคนอื่น เมื่อฟองสบู่เริ่มอ่อนกำลังลง ผมขอแนะนำให้ท่านบูชาองค์จตุคาม รามเทพ องค์จตุคามท่านผ่านฟองสบู่มาก่อน คงจะช่วยเตือนสตินักเก็งกำไรทั้งหลายได้เป็นอย่างดี

“ฟองสบู่..ดูอย่างไร?” : ดร.วิรไท สันติประภพ

ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

มารู้จัก หุ้นปันผล คืออะไร แถมลูกเล่นทางบัญชี บางอย่าง เช่น การลดทุนตัดขาดทุนสะสม

ช่วงนี้ มีหลายบริษัท จ่ายปันผลเป็นหุ้นกัน และเห็นมีกระทู้ถามเรืองหุ้นปันผลกันบ่อยๆ ลองมาทำความรู้จักหุ้นปันผลกันหน่อยว่ามันคืออะไร

การแจกหุ้นปันผล มันคือ การปันผล พร้อมกับการ ขายหุ้นเพิ่มทุน ในราคาพาร์  โดยค่าหุ้นเพิ่มทุนที่จะจะต้องจ่ายนั้น ทางบริษัทเอาเงินปันผลทีจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นนั่นแหละ มาจ่ายแทน ทำให้เหมือนกับ ว่า ลูกค้าไม่ได้รับเงินปันผล แต่ได้หุ้นแทน หรือ บางกรณี นอกจากจ่ายปันผลเป็นหุ้นแล้ว อาจจะจ่ายเป็นเงินสดร่วม มาด้วยในคราวเดียวกัน ก็ได้

สำหรับ ส่วนของหุ้นปันผลนั้น  ในทางบัญชี ทางบริษัทจะต้องจัดสรร เงินปันผลที่จ่าย ออกมาจากกำไรสะสม ออกมาจ่าย (ทำให้กำไรสะสม ลดลงไปเท่ากับปันผลที่จ่าย) แล้วเอาไปจ่ายเป็นค่าหุ้นเพิ่มทุน ตามทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นแทนผู้ถือหุ้น (ก็รับเงินจำนวนเดิม กลับเข้ามาเป็น เงินค่าหุ้นเพิ่มทุนไปอยู่ในส่วนทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่มขึ้นชดเชยกำไรสะสม ที่ลดลง (ส่วนของผู้ถือหุ้น จึงยังคงมีเท่าเดิม) แต่มีจำนวนหุ้นในมือเพิ่มขึ้นมา

ตัวอย่างหุ้น ตัวนึง ทุนจดทะเบียน 5 ล้านหุ้น  พาร์ 1 บาท รวมทุนจดทะเบียนก็ =  5 ล้านบาท  มีกำไรสะสม อยู่ 5 ล้านบาท (รวมส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือ  5 + 5 ล้าน = 10 ล้าน)

ถ้าหุ้นนี้ มีราคาซื้อขายกันอยู่ในตลาด 20 บาท
เมื่อบริษัท จ่ายหุ้นปันผลให้ ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

นั่นเท่ากับว่า บริษัท จ่ายปันผล ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม หุ้นล่ะ 20 สตางค์  ถ้าคนมี 5 หุ้น ก็ได้ = 1 บาท

แล้ว เงินปันผล 1 บาทนี้ ไปจ่าย ค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่เพิ่มทุนในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาพาร์ 1 บาท แทนผู้ถือหุ้นเดิม

สุดท้ายคนที่เคยมีหุ้นเดิม 5 หุ้น ก็จะได้หุ้นเพิ่มทุน ราคา พาร์(1 บาท) 1 หุ้น  ที่จ่ายด้วยเงินปันผลของตัวเอง 5หุ้น หุ้นละ 20 สตางค์  ก็จะกลายเป็นมีหุ้นเพิ่มมา เป็น 6 หุ้น 
ส่วนราคาซื้อขายในตลาด ก็จะมีการ Dilute ลงมาตามการคำนวน (20X5 )+1 = 101/6 = ประมาณ  16.83 บาท

ในด้าน บัญชีของบริษัท เมื่อจ่ายปันผลออก มาหุ้นล่ะ 20 สตางค์ สำหรับ หุ้นทั้งหมด 5 ล้านหุ้น เท่ากับจ่ายปันผล ออกมา 1 ล้านบาท กำไรสะสม จะเหลือ แค่ 4 ล้าน

ส่วน จำนวนหุ้นจดทะเบียน ก็จะเพิ่มมาเป็น 6  ล้านหุ้น ทุนจดทะเบียนก็จะเพิ่ม จาก  5 ล้าน เป็น 6 ล้านบาท และ อย่างที่บอกส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเป็น 6 +4 ล้าน หรือ = 10 ล่้านคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

การจ่ายอย่างนี้ ทำให้บริษัทยังคงมีเงินสดในมือ ใช้บริหารเท่าเดิม แค่ย้ายกำไรสะสม มาเป็น ทุนจดทะเบียน

ผู้ถือหุ้นได้หุ้นเพิ่มปลอบใจ แม้ราคาต่อหุ้นในตลาดอาจจะลดลงไปบ้าง แต่บางที มันก็ลงมาไม่มากเท่าราคาตามการคำนวนทำให้เห็นกำไรโผล่มาในพอร์ตบ้าง



แต่ในด้านทางตรงกันข้าม ก็มีเหมือนกันที่ บางบริษัทขาดทุนสะสม ก็ จะทำการ ลดทุนจดทะเบียนลง เอาตัวเลขฝั่งทุนจดทะเบียน ไป หักล้างขาดทุนสะสม ก็มีเช่นกัน  การทำแบบนี้่ ทุนจดทะเบียน ของบริษัทจะลดลง แต่ ส่วนของขาดทุนสะสม ก็จะลดลงไปในจำนวนเท่ากัน แต่ ส่วนของผู้่ถือหุ้น ก็ยังคงมีเท่าเดิม  ไม่เปลี่ยนแปลง

ในบางกรณี ที่จะลดทุน อาจจะมีการรวบหุ้น หรือ รวม Par  ให้เหลือจำนวนหุ้นน้อยลง(แต่พาร์เพิ่มขึ้นก่อน) แล้ว ค่อยลดทุนลงทีหลังก็ได้   ถ้าแบบนี้คนที่ถือหุ้นอยู่ ก็จะมีจำนวน หุ้นในมือลดลง แต่ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้้นมา ชดเชย เช่นกัน

ตัวอย่าง ก็เหมือนที่หุ้น GEN  กำลังจะทำตอนนี้  ที่จะทำการรวบหุ้นเดิม จาก 3 หุ้นเดิม พาร์ 10 บาท เหลือเป็น 1 หุ้นใหม่30  บาท ก่อนที่จะลดทุน ลดพาร์จาก 30 บาท เหลือ 90 สตางค์)  ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียน และส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างมาก ไปล้างตัวเลขขาดทุนสะสมทางบัญชี (แต่ว่า เค้าไม่ได้ทำแค่นี้ มีการเพิ่มทุนขายหุ้นเพิ่มทุนกลับมาใหม่ เพิ่มดึงเม็ดเงิน เพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น เติมเงินกลับเข้าบริษัท เพื่อจะได้มีเงินไปดำเนินงาน ลงทุนต่อไปได้ ถ้าไม่เอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เหมือนคราวก่อนๆ ตามที่เคยเล่าไว้ในกระทู้นี้)

http://pantip.com/topic/30227534

แล้วการลดทุน เพื่้อล้าง หรือ ลดการขาดทุนสะสม มันมีประโยชน์ หรือ ข้อดีอย่างไร หรือไม่

ข้อดีหรือประโยชน์ของมันอันนึงก็คือ บางครั้ง บางบริษัท เคยมีการขาดทุนสะสมมาเก่าอยู่มาก  ยังล้างไม่หมด แต่ระยะหลังเริ่มมีผลประกอบการ ดีขึ้นมีกำไร มีเงินสด ในมือมากพอ ที่จะจ่ายปันผล ตอบแทนผู้ถือหุ้นได้ แต่ ติดที่ว่ายังมีขาดทุนสะสมอยู่ กฏหมายจะห้าม ไม่ให้ปันผล เพราะว่าปันผล จะทำได้ จากกำไรสะสมเท่านั้น ดังนั้นพวกนี้ ก็จะทำการลดทุน ล้างขาดทุนสะสม ให้หมดก่อน แล้ว เมื่อมี ตัวเลขผลกำไรใหม่ เพิ่มเข้ามา ก็จะทำการจ่ายปันผลได้  จากเงินสดที่มีในมือ

เหมือนครั้งนึง  Bland ( อีกแล้ว) เคยจะทำการลดทุน เมื่อราวๆ ปีสองปีก่อน เพื่อทีจะจ่ายปันผลให้ได้เป็นครั้งแรก แต่ว่า โดนเจ้าหนี้ทักท้วง ทำให้การลดทุนต้องล้มไป (ก่อนทำการลดทุนต้องแจ้งขอมติ ตลาด แจ้ง และรอการคัดค้านจากเจ้าหนี้ ถ้ามีเจ้าหนี้ ซึ่งถือว่ามีส่วนได้เสียโดยตรง คัดค้านก็ทำการลดทุนไม่ได้) แต่ คราวนั้นเสี่ยช้าง แกก็ก็๋เดินเกมส์ต่อ โดยการโอนปันผล จากบริษัทลูก Bland Cayman คืนกลับมาให้ บริษัทแม่ล้างขาดทุนสะสม จนหมด และทำการปันผลได้ เป็นคร้งแรก ในรอบเกือบยี่สิบปี  เมือรอบบัญชีปีที่แล้ว  นี่เอง (การโอนเงินปันผล คราวนั้น(ถ้าจำไม่ผิดตัวเลขเหมือนจะเป็นแปดพันล้าน)  ก็ไม่ได้โอนเงินสดกัน มาจริงแค่โยกตัวเลขทางบัญขีแค่นั้น) แต่เงินปันผลที่จ่าย นี่จ่ายจากเงินสดที่เหลือในบริษัท หุ้นล่ะ 2 สตางค์ หมื่นเจ็ดพันล้านหุ้น ก็จ่ายออกมาราว 340 ล้านบาท แต่ได้ใจ และเสียงปรบมือ จากผู้ถือหุ้นที่รอคอยกันมานาน เป็นสิบปี ไปได้คุ้ม อิๆ เด๋วรอปีนี้ มีกำไร เพิ่ม อีกมากกว่าเดิมเยอะ และยิ่งถ้าได้เงินเพิ่มทุน จาก W2 และขายกองทรัสต์เข้ามา คราวนี้เงินสดเต็มมือ ดูสิ เสี่ยช้าง จะปันผลเท่าไร ยิ้ม ยิ้ม

พวกลูกเล่นพวกนี้ ฝ่ายบัญชี เค้าชอบใช้กัน ตามสถาณะการณ์ คนเล่นหุ้น รู้จักไว้มั่งก็ดีครับ จะได้ตามเค้าทัน

คุยให้ฟังกันเล่นๆ พอได้ไอเดีย ใครมีอะไรเพิ่มเติม  แก้ไข ให้ข้อมูลกับ เพื่อนๆ เชิญนะครับ ช่วยๆกัน เสริมความแข็งปีกเม่ากัน อิ

ขอขอบคุณ บอร์ดสินธร

การค้าขาย ... ธุรกิจหลากหลาย

ธุรกิจกิจการต่างๆนั้นเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของสังคม
การประกอบธุรกิจจึงต้องไม่สร้างภาระให้กับสังคม
โดยเฉพาะกิจการที่ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วในโลกของธุรกิจ
………………………
ผมเห็นหลายๆกิจการหลายๆธุรกิจแล้วเกิดความสงสัยครับ
เพราะหลายธุรกิจที่ผมพูดถึงอยู่นี้
ประกอบกิจการจนมั่งคั่งร่ำรวย
มีมูลค่าเป็นหมื่นๆแสนๆล้าน
แต่ก็ยังมีพฤติกรรมในการทำธุรกิจที่น่าจะส่งผลเสียหายต่อสังคม
ภาษาวิชาการอาจจะเรียกว่า ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม
..............................
บางธุรกิจที่ผมเห็น
ยังคงค้าขายในสิ่งที่สร้างปัญหาให้สังคม เช่นเหล้า
บางธุรกิจ ยังคงสร้างสิ่งมัวเมาสังคม เช่นละครน้ำเน่า
บางธุรกิจ ยังคงสร้างภาระแวดล้อมให้สังคม
เช่นปล่อยน้ำเสีย ปล่อยควันพิษ
และ บางธุรกิจ สร้างภาระในอนาคตให้กับสังคมของลูกหลาน
เช่นได้สัมปทานได้สัญญากับภาครัฐอย่างไม่ถูกต้อง
และรัฐซึ่งคือสังคมโดยรวมเสียประโยชน์อย่างมหาศาล
และอื่นๆอีกหลายๆอย่าง
……………………….
ผมแสลงใจทุกครั้งที่ไปซื้อกาแฟเย็นยอดอร่อยราคาไม่แพงในร้านที่หาได้ง่ายๆ
แสดงใจทุกครั้งเพราะเมื่อไปจ่ายเงิน
จะเห็นตู้ขายเหล้า และแผงขายบุหรี่
ซึ่งแผงขายบุหรี่แล้ว ตามกฎหมายต้องปิดให้มิดชิด
แต่ผมก็เห็นเปิดอยู่ทุกครั้ง
หรือผมไปผิดเวลา หรือเป็นฉพาะสาขานั้นๆก็ไม่รู้ครับ
ได้แต่หวังลึกๆว่าคงไม่ใช่เป็นนโยบายเพื่อการค้าของบริษัท
.............................
พรุ่งนี้จะพูดถึงธุรกิจทึ่ผมชื่นชมครับ
เพราะธุรกิจที่ดีมีไม่น้อยครับในเมืองไทย
เครดิต Money Talk

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดอกอะไรเอ่ย บาน 365 วันต่อปี

ดอกอะไรเอ่ย บาน 365 วันต่อปี
 
 ข้อตกลง Fiscal Cliff ของอเมริกา ไม่มีอะไรที่เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับหนี้สินภาครัฐและการขาดดุลย์การค้าของ ประเทศอเมริกาเลย เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นที่อนุญาตให้รัฐบาลสร้างหนี้เพิ่มได้อีก ไม่มีการเพิ่มภาษี ไม่มีการตัดงบประมาณรัฐสวัสดิการและงบประมาณของกองทัพ ตลาดรับรู้ข่าวดีเพียงเรื่องที่ว่ารัฐสภาสามารถตกลงกันได้และไม่มีการเพิ่ม ภาษี แต่มีปัญหาที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกมากมาย นั่นคือปัญหาหนี้สินภาครัฐและการขาดดุลย์การค้าของประเทศ แน่นอนที่สุด ปี 2013 นี้ โลกจะได้เห็นอเมริกาพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นอีกอย่างไม่มีขีดจำกัด สิ่งที่จะตามมาแน่นอนที่สุดคือการเสื่อมค่าของ Bond การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ย และ Hyper Inflation

 ว่า 30 ปี จากปี 1981 ที่อัตราดอกเบี้ยของอเมริกา (และอัตราดอกเบี้ยของทั้งโลก) ลดลง ด้วยการพิมพ์ธนบัตรมาซื้อพันธบัตรของตัวเอง เมื่อขายพันธบัตรได้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ก็คุมอัตราดอกเบี้ยของการธนาคารทั้งหมดได้ รัฐบาลกู้เงินประชาชน แล้วจ่ายด้วยเงินของประชาชนเอง จะกู้เท่าไหร่ก็ได้ พิมพ์เงินออกมาอีกเท่าไหร่ก็ได้ ผลคืออัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกัน Inflation ซึ่งมีผลเสียทางการเมืองนั่นเอง แต่ประเทศชาติจะพังพินาศน์อย่างไรพวกนักการเมืองไม่เคยสนใจ ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นแก่ตัว ขอให้ตัวเองได้ประโยชน์ก็พอแล้ว ยอมรับนโยบายประชานิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา
นนี้มีสัญญาณ Reversal ของตลาดอัตราดอกเบี้ย Treasury Yield 30 Years ชัดเจนแล้ว จากจุดต่ำสุดที่ 2.45% วันนี้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นไปเป็น 3.11% เป้าหมาย 61.8% อยู่ที่ 10.0% plus และ 161.8% อยู่ที่ 23.0% ปี 2013 นี้ เราจะได้เห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน
 ตั้งแต่ปี 2008 ธนาคารและกิจการต่างๆของประเทศได้ถูกต่างชาติยึดไปหมดแล้ว ในโลกของ Inflation และ double digits interest rate หุ้นธนาคารน่าสนใจมาก Bank Sector Index ขึ้นจาก 23% จาก 125 ไปเป็น 550 และจะขึ้นต่อไปอีกมากกกก ... อีกยาวววว ...

ใครยากจน เป็นหนี้ เตรียมตัวยากจนเพิ่มขึ้นอีก ดอกเบี้ยกำลังจะเบ่งบาน บานตลอดปี 365 วันไม่มีวันหยุดราชการ เตรียมตัวเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก ระบบทาสกำลังจะเริ่มต้น ทาสน้ำเงิน ทาสที่ควบคุมด้วยเงิน เงินรัฐสวัสดิการที่มาจาดเงินของพวกทาสนั้นเอง

พวกเราชาว CDC ก็อดทน รวยกันอย่าง “พอเพียง” ตามระบบต่อไป
ขอขอบคุณ ลุงโฉลก ครับ

ทบทวนความจำ ตลาดหุ้นไทย

หลังจากผ่านทั้งเหตุการณ์ทั้งดีเเละร้ายมา วันนี้เรานำรูปภาพความหลังของตลาดหุ้นไทย มาเเชร์ให้ดูครับ

10 วิกฤติเศรษฐกิจเขย่าโลก


 
 
 
 
 
 
 
 
 
10 วิกฤติเศรษฐกิจเขย่าโลก !!

1. วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1929

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริการยุคปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ที่หากกล่าวไปคงไม่มีใครเ...ชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล ซึ่งวิกฤติทางการเงินในครั้งนั้นเกิดจากความตื่นตูมจนเกินเหตุของเหล่าบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท และพากันไปกู้เงินมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวเพื่อหวังรวยทางลัด จึงเป็นที่มาของการเกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ หุ้นของหลายๆบริษัทมีราคาทะยานขึ้นสูงเกินกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่เศรษฐกิจของอเมริกาช่วงนั้นกำลังถดถอย ทำให้เมื่อถึงเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายๆบริษัทมีอาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีท ก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด มีการระดมเทขายอย่างหนัก จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไปในพริบตา ไม่เว้นแม้กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายไปหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ วิกฤติการเงินในครั้งนี้จึงสอนให้เรารู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริงไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย

2. วิกฤติการเงินของอาร์เจนติน่า ค.ศ. 1999-2002

หายนะวิกฤติการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ทั้งหมดสั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนถึงประชาธิปไตยซึ่งกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสูงมากจนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมด มีการกำหนดค่าเงินแบบตายตัว แต่มันไม่ได้ให้ผลดีเลยกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้นอีก เพราะค่าเงินแข็งเกินไปทำให้สินค้าส่งออกขายได้ยากขึ้น หนี้เก่าก็มีเป็นจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาต้องชำระหนี้สินคืนต่างประเทศก็ไม่สามารถใช้คืนได้ สุดท้าย IMF ต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน

วิกฤตินี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากขนาดไหน

3. ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1986-1990

ต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยในการออมเงินที่สูงมากมานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในระบบ ทำให้พวกเขาคิดจะขยายการเติบโตทางธุรกิจด้วยการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชนได้นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขณะนั้นดัชนีหุ้นนิเคอิพุ่งสูงติดกระดานตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียวแต่แล้วความจริงก็ปรากฎขึ้นเมื่อตลาดของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยประชาชนมีเงินอยู่ในมือก็จริงแต่เมื่อพวกเขาไม่อยากจะเอาออกมาใช้รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถึงแม้จะพยายามลดดอกเบี้ยเงินฝากขนาดไหนเงินก็ยังไม่ออกมาจากระบบ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจึงเริ่มซบเซาตลาดหุ้นตกเงินทุนในภาคธุรกิจหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งในเมื่อไม่มีอุปสงค์ในตลาดอุปทานก็จึงไม่เกิดเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเงินทุนก็เริ่มโยกย้ายออกไปในต่างประเทศ การจ้างงานลดลงคนตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้จึงทำให้ใช้ระยะเวลาสะสางปัญหานานถึง 12 ปี กว่าจะดึงอัตราการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในแดนบวกได้จากกรณีนี้เองจึงจะเห็นได้ว่าการกระตุ้นการลงทุนนั้นจะต้องทำไปพร้อมๆกันการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างต่อเนื่องด้วย

4. วิกฤติทางการเงินที่ประเทศสวีเดน ค.ศ. 1990-1994

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่วิกฤติทางการเงินครั้งนี้มาเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดเด่นตรงนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะที่สูงมากนานหลายสิบปี จนเมื่อประมาณปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดที่มีต่อสถาบันทางการเงินหลังจากคงอยู่มานานถึง 50 ปี ผลก็คือสถาบันทางการเงินปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ สินทรัพย์ต่างๆในช่วงนั้นราคาทะยานขึ้นสูงอย่างประวัติการณ์จนก่อให้เกิดเป็นการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ที่ว่านั่นก็แตก สินทรัพย์ต่างๆลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าไปในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผลนักธุรกิจและประชาชนก็ต่างไม่มีเงินใช้หนี้ที่กู้มา ธนาคารก็เริ่มล้มลงเป็นแถบๆ และลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด จึงเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักจะทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาควบคุมให้ระบบเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยที่ไม่ผูกขาดเกินไปหรือปล่อยจนเกินไป

5. ฟองสบู่ธุรกิจดอทคอม ปี ค.ศ.1995 – 2000

อินเตอร์เน็ตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคือความหวังในอนาคตของมนุษย์ และนักลงทุนเป็นจำนวนมากเชื่อในสิ่งที่ว่านั้น จึงแห่แหนกันไปลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องในส่วนเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากเพราะมันเป็นอนาคตของการทำธุรกิจในขณะนั้น แต่แล้ววันเผด็จศึกก็มาถึงเมื่อความนิยมของอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไม่ได้สูงเหมือนดั่งเป้าที่วางไว้ ความผิดหวังในเทคโนโลยีเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆเพราะความก้าวหน้าในขณะนั้นยังไม่ถึงกับระดับความต้องการที่มนุษย์คาดหวังไว้จะให้มันมี ความถดถอยก็เริ่มเกิดขึ้นในตลาดทุนเมื่อราคาหุ้นเทคโนโลยีเริ่มตกลงถึงขีดที่ว่าไม่เหลืออะไรเลยและกลับกลายเป็นภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนให้เรารู้ว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรและแนวทางการทำธุรกิจที่เน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรคือหายนะที่น่ากลัวมากกับการทำธุรกิจโดยตลอดมา

6. วิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทย ปี ค.ศ. 1997-1999

หายนะที่คนไทยหวังให้เป็นเพียงแค่ฝันร้าย เหตุการณ์เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1997-1999 ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจนอาจเรียกได้ว่าฮอตติดลมบน บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกด้วย เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอกเช่นนี้จึงเกิดการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้นจนสูงมากกว่าเงินที่มีอยู่ในระบบหลายสิบเท่าตัว เศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร “โดยกู้มาลงทุน” ด้วยหวังกำไรส่วนต่าง

ฟังดูเหมือนจะไปได้ดี แต่สิ่งหนึ่งที่นักเก็งกำไรมองข้ามไปคือเมื่อเงินอยู่ในระบบมากเกินจะส่งผลให้เงินเฟ้อและค่าเงินบาทลดลงอย่างหนัก ทำให้หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว แถมยังมีปัจจัยความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเทเงินเข้าระบบเพื่อรักษาและคงที่ค่าเงินบาทเอาไว้ แต่การเทเงินเข้าระบบแบบหมดหน้าตักกลับเป็นนโยบายการเงินที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เงินคงคลังของประเทศลดต่ำลงจนเกือบเรียกได้ว่าล้มละลาย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไร้ความสามารถในการชำระหนี้ สุดท้ายรัฐบาลไทยจึงประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว สถาบันทางการเงินปิดไปถึง 56 แห่ง ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันต่างต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF

บทเรียนหายนะวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนี้สอนให้รู้ว่าไม่ควรคาดหวังกับเงินในอนาคตที่มาจากการเก็งกำไรมากเกินไปนัก เพราะธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่มีความเสถียรพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย

7. วิกฤติการเงินในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1998

วิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าอร่อยในครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดร้าวให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเรื่องเริ่มจากรัสเซียในขณะนั้นเพิ่งจะหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าหลักๆในขณะนั้นก็คือพวกเหล็ก น้ำมัน และทองแดงเป็นสินค้าส่งออกหลัก โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่พอเอเชียประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเองเข้า การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็น้อยลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม จึงเริ่มเป็นที่มาของราคาสินค้าตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างของประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากนำออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด)ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และนักลงทุนขณะนั้นก็มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของรัสเซียพอสมควรเพราะพวกเขาเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่คงไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด นักลงทุนจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วฝันร้ายก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความละโมบโลภมากของนักลงทุนนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง แต่ดันจับต้องไม่ได้จริง

8. วิกฤติน้ำมันในยุค ค.ศ.1970

เพราะเครื่องจักรและยานพาหนะแทบทุกสิ่งบนโลกล้วนต้องใช้น้ำมัน และแหล่งน้ำมันส่วนใหญ่มักอยู่ในชาติมุสลิมซึ่งเป็นภาคีโอเปก การเกิดสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอลจึงเป็นเหตุการส่งออกน้ำมันจากชาติอาหรับหยุดชะงัก สร้างความแตกตื่นให้ประชาชนผู้บริโภคจนพากันแห่ซื้อน้ำมันมากักตุนไว้อย่างบ้าคลั่งราวกับเกิดกลียุคด้านพลังงานขึ้น จากนั้นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างโอเปกสามารถชิงอำนาจการกำหนดราคามาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาและสหภาพยุโรปได้อย่างถาวร อันเป็นการเปลี่ยนอำนาจชนิดสลับขั้วที่สำคัญมาก ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จนเกือบล่มสลาย เพราะเมื่อน้ำมันราคาแพงขึ้น ต้นทุนการผลิตย่อมสูงขึ้นแน่นอน ส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้น ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่พอ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามๆ กัน แต่ที่หนักสุดคือประเทศด้อยพัฒนาที่ต่างชักหน้าไม่ถึงหลังด้วยกันทั้งสิ้น

วิกฤติครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และบางครั้งผู้เป็นเจ้าของตลาดก็มิอาจอยู่เหนือเจ้าของปัจจัยการผลิตอย่างที่เป็นมาในอดีตเสมอไป

9. วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกรีซ ปี ค.ศ. 2009

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง โดยสาเหตุหลักๆมีที่มาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของกระแสเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะขึ้นสูงถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่มันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลายจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมีที่มาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะขึ้นสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง

10. วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008 – ปัจจุบัน

วิกฤติซับไพร์มหรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามประสาสื่อบ้านเรานั้นเป็นวิกฤติทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งมีที่มาจากสถาบันการเงินของอเมริกันได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยกู้สินเชื่อจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งถ้าเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้จะต้องยอมจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเพื่อเป็นการทดแทนการได้รับสินเชื่อมาแบบง่ายๆ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤติอย่างแท้จริงเพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าเอาไว้สูงกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งๆที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติในการผ่อนชำระเงินแม้แต่แค่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักจะลงไปในระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะมีชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วยสุดท้ายแล้วผลที่ตามมาก็คือเหล่าบรรดาลูกหนี้เหล่านี้ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและประชาชนก็เริ่มขาดส่งเงินให้กับทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายๆแห่งต้องล้มลงอย่างไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้จึงทำให้เราเห็นได้ว่าการขาดความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อมักจะนำมาสู่หายนะที่โหดร้ายเสมอๆ

ขอบคุณข้อมูล stock2morrow ครับ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

5 เทรนด์ระดับโลก ในยุคที่จับตามอง

 
 
 
5 เทรนด์ระดับโลก ในยุคนี้ที่น่าจับตามอง โดย คุณนิ้วโป้ง - อธิป กีรติพิชญ์
5 เทรนด์ระดับโลก ในยุคนี้ที่น่าจับตามอง

1. Internet Everywhere: โทรศัพท์มือถือ Smart Phone มาแรง (สื่อสาร, ร้านขายโทรศัพท์, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต)

2. Aging Society: สังคมคนสูงอายุ (โรงพยาบาล, ผู้ผลิตยา, ประกันชีวิต, ท่องเที่ยว)

3. Urbanization: สังคมเมือง คนย้ายมาอยู่ในเมือง (พัฒนาอสังหาฯ, อาหาร, ค้าปลีก, ขนส่ง, โฆษณา)

4. Free Trade: AEC+จีน+อินเดีย การค้าไร้พรมแดน (พัฒนาอสังหาฯ, นิคมอุตสาห...กรรม, ขนส่ง)

5. Natural Resources Scarcity: ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (พลังงาน, อาหาร)

นี่น่าจะเป็นแนวโน้มของบริษัทที่จะเติบโตไปได้อีกนาน
 
ขอขอบคุณข้อมูลของ Stock2morrow นะครับ ( รูปภาพผมประกอบเอง)
 
Lee Invest ให้ความสำคัญกับ Mega Trends เป็นอันดับเเรกของการลงทุน เรื่องเเรก Internat Everywhere ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารเเบบไร้สาย สามารถที่จะพูดคุยเห็นหน้ากันได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องย่อมได้รับผลประโยชน์ ทั้งผู้ให้บริการสัญญาณ ผู้ผลิตสินค้า smart phone  รวมทั้ง น่าจะเป็นกลุ่ม Repairment ผู้ให้บริการซ่อมเเซม เรื่องที่ 2 Aging Society ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผู้สูงอายุ เวชศาสตร์ชะลอวัย กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล สปา สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มนี้ประเทศไทยค่อนข้างที่จะได้เปรียบ เรามีทั้งเเพทย์เเผนไทย เเพทย์เเผนปัจจุบัน เเพทย์เเผนจีน( ลูกค้ากลุ่มนี้เยอะมาก) ที่ค่อนข้างเก่ง กับมารยาทไทยที่เป็นเลิศ เรื่องที่ 3 สังคมเมือง กลุ่มนี้เห็นได้ชัดเจนมากๆ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบซื้อคอนโดติดกับการเดินทางที่สะดวกสบาย รวมทั้งการให้บริการเเบบครบวงจร เช่นการค้าปลีก ร้านอาหาร เรื่อที่ 4 Free Tread Area เขตการค้าเสรี จะทำให้ธุรกิจ Logistics , Industiral Estate เติบโตอย่างมาก ก่อให้เกิดคนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น เรื่องที่ 5 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เเล้วหมดไป การเจริญเติบโตของโลกบนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่นพลังงาน มนุษย์ต้องรู้จักการปรับตัว ดังนั้กลุ่มพลังงานทดเเทนน่าจะมาด้วย หลังจากที่ผมได้อ่าน 5 เทรนด์ระดับโลกเเล้ว ทำให้เรามองภาพของการลงทุนเเห่งอนาคต การเปลี่ยนเเปลงในหลายๆด้าน รวมทั้งนักลงทุนเอง สามารถนำข้อมูลมาตัดสินใจประกอบการลงทุนได้เป็นอย่างดีครับ