วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อคิดการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน


หกเดือนที่ผ่านมานี้ ราคาหุ้น และดัชนีหุ้นไทย เคลื่อนไหวทั้งขึ้น และลงในแต่ละวันด้วยความรวดเร็วและในขนาดที่มาก


SET Index มีจุดสูงสุดที่ 1,649.77 จุด และต่ำสุดที่ 1,338.81 จุด ขณะที่ SET50 Index ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงของ Futures วิ่งอยู่ระหว่าง 899.82 จุด ถึง 1,096.29 จุด ความผันผวนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา หลังเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ส่งสัญญาณบวก ผู้ลงทุนจากประเทศตะวันตกจึงปรับลดน้ำหนักการลงทุนในแถบเอเชียเพื่อเตรียม กลับไปลงทุนในสหรัฐ ตลาดหุ้นในเอเชียจึงตกอยู่ในภาวะการถูกขายออกมาอย่างหนักจากผู้ลงทุนต่าง ประเทศ และเมื่อปิดครึ่งแรกของปี ดัชนีหุ้นไทยปิดไปที่ 1,451.90 จุด เพิ่มขึ้นจากเมื่อสิ้นปีก่อน 59.97 จุด หรือ เพิ่มขึ้น 4.31%

วันนี้จึงขอนำข้อคิดของ Dr. Robert Webb และ Mr. Alexander Webb ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์พฤติกรรมและธรรมชาติของการซื้อขาย และผู้ที่เป็นผู้ลงทุนและเทรดเดอร์ในตลาดล่วงหน้า รวมถึงมีผลงานการเขียนหนังสือ Shock Markets: Trading Lessons for Volatile Times ที่มาให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนชาวไทย มาเล่าสู่กันฟังในหัวเรื่อง “สาเหตุหลักที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขาดทุน” โดยเขาได้วิเคราะห์ผ่านพฤติกรรมของมนุษย์ในการตัดสินใจด้านการเงินการลงทุน โดยเริ่มจาก ประโยคที่สำคัญ “Cut your losses short and let your profits run” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ควรทำ แต่เป็นเรื่องยากที่เราทุกคนจะทำได้ มิเช่นนั้นแล้ว ก็คงได้กำไรจากการซื้อขายกันถ้วนหน้า เพราะพฤติกรรมของผู้ลงทุน หรือเทรดเดอร์แต่ละท่าน มักมีข้อด้อยในหลายๆ เรื่อง

Over Confidence ความมั่นใจสูงในความสามารถของตนเอง โดยจากการศึกษามักพบว่าเพศชายจะมีความมั่นใจในเรื่องนี้สูงกว่าเพศหญิง ตัวอย่างคือ เมื่อมั่นใจในแผนการลงทุน จึงไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้าว่าตลาดอาจมีความผันผวน จึงไม่ได้เตรียมใจไว้ ต้องเคลื่อนไหวตามตลาด ปรับเปลี่ยนการซื้อขายบ่อยขึ้นตามสภาวะตลาด เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นและอาจลดทอนกำไรที่ควรจะได้ หรือบางครั้งก็เกิดผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และในบางกรณีก็ไม่กระจายพอร์ตการลงทุนเพราะมั่นใจเกินไป จึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น

ปัจจัยในเรื่องของการจัดการกับความเสี่ยง ทั้งในเรื่องของ Risk Aversion/ Loss Aversion/ Disposition Effect โดยพฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนเรานั้นมักบอกว่าตนเป็นคนไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Aversion) ดังนั้น ในกรณีที่มีทางเลือกในการได้รับผลตอบแทนหรือผลกำไร จึงมักเลือกทางที่มีความแน่นอนมากกว่า แม้จะได้รับผลตอบแทนหรือกำไรน้อยกว่า อีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่เสี่ยงสูงกว่า แต่มนุษย์คนเดียวกันนี้กลับตัดสินที่จะรับความเสี่ยงมากขึ้น กรณีที่พอร์ตเริ่มขาดทุน หรือมีโอกาสจะขาดทุนได้ เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่ยอมตัดผลขาดทุนแต่เนิ่นๆ แต่กลับทนยอมรับกับความเสี่ยงที่จะมีผลขาดทุนรออยู่ข้างหน้า
พฤติกรรมนี้แสดงถึงว่า คนส่วนใหญ่ยอมรับความเสี่ยงมากขึ้นกรณีเกิดผลขาดทุน แต่จะไม่ค่อยรับความเสี่ยงกรณีมีผลกำไร หรือแปลความได้ว่า ผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยง เพื่อเพียงรักษาเงินต้น (ไม่ยอมขาดทุน) มากกว่ายอมรับความเสี่ยงเพื่อหาผลกำไร และพฤติกรรมเช่นนี้ยังนำไปสู่การตัดสินใจ ที่มักจะขายของที่ดีที่สุดออกไปจากพอร์ตและคงเหลือของที่ขาดทุนไว้ในพอร์ต เมื่อเวลาเราเริ่มเห็นการขาดทุนของพอร์ต
Mental Anchoring ผู้ลงทุนมักจะติดกับกับดักของราคาที่เขาซื้อมา โดยไม่ยอมที่จะยอมรับกับข้อมูลใหม่ที่มีเข้ามา เพราะในยามที่สินทรัพย์ที่เราลงทุนนั้นมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ราคาที่เราซื้อมานั้น ไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้ว แต่เราก็มักจะรอจนราคานั้นกลับมาเท่าเดิมจึงขายออกไป ในทางที่ถูกนั้น ควรจะหาทางที่จะขายออกไปตั้งแต่เมื่อผิดทางแล้ว ไม่ควรที่จะรั้งรอเพื่อรอราคากลับมาที่เดิม ซึ่งอาจไม่กลับมาทำให้เราถือของที่ขาดทุนอยู่เป็นเวลานาน ท่านผู้แต่งหนังสือทั้งสอง ยังได้ยกตัวอย่าง การลงทุนของ GIC ซึ่งกองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ และ Warren Buffet ที่ไม่ลดการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเกิดผลขาดทุน เสียแต่เนิ่นๆ แต่กลับถือครองสินทรัพย์ดังกล่าวจนในที่สุดก็เกิดผลขาดทุนเป็นจำนวนสูงใน หลายปีต่อมา

Heuristics not Statistics ย้ำให้ตระหนักถึงการวิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติ ที่หลายๆ ครั้งเรามักยึดติดค่าทางสถิติมากเกินไป อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ณ ขณะนั้น โดยตัวเลขทางสถิติ เป็นการเก็บข้อมูลจำนวนมากและมีระยะเวลานาน แต่อาจเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของค่าสถิติ จึงไม่อาจใช้ค่าสถิติมาทำนายได้ เช่น อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้นไทยรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้รับผลตอบแทนโดยเฉลี่ยปีละ 12% แต่บางปีผลตอบแทนของหุ้นไทยอาจมากกว่า หรือ น้อยกว่าอัตราดังกล่าวได้ เพราะไม่ใช่ค่าเฉลี่ยระยะยาว

การที่เทรดเดอร์หรือผู้ลงทุนจะประสบความสำเร็จในการซื้อขายนั้น คงต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่ถือว่าเป็นกับดักที่จะ นำไปสู่ความล้มเหลวต่างๆ ได้แก่ Failure to cut losses short ความล้มเหลวที่ไม่ตัดผลขาดทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการที่ไม่อดทนการรอคอยให้ผลกำไรเพิ่มพูนมากขึ้น Failure to let profit run ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทำง่าย เพราะตลาดที่อาจมีความผันผวนระหว่างทาง และบางครั้งก็รอเนิ่นนานไป จนผ่านจุดสูงสุดและกลายเป็นผลขาดทุนที่ย้อนกลับมาไม่ได้ และหลายๆ ครั้งที่เราไม่ได้ Cut Loss แต่โชคช่วยที่ราคาสินทรัพย์นั้นกลับทิศอย่างไม่คาดฝัน จึงทำให้ผลขาดทุนที่ไม่ยอมตัดใจกลับมาเป็นบวกได้ ซึ่งมีผลต่อการบริหารพอร์ตกรณีที่ต้องการลดโพสิชั่น โดยมักจะลดการถือครองสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงก่อน เพราะราคาที่ขายได้มักเป็นราคาตลาด แต่ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องน้อยต้องเสียส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่มี สภาพคล่อง ทำให้ต้องถือครองสินทรัพย์พวกนี้ไว้ ซึ่งอาจเป็นผลเสียเมื่อต้องยกเลิกกองทุนหรือพอร์ตทั้งหมด เพราะอาจเกิดผลขาดทุนจำนวนมาก

รวมทั้งการฝังใจกับราคาที่ซื้อเข้ามาในพอร์ต และความพยายามที่จะรอให้ราคากลับมาที่เดิม เพราะเมื่อผิดทางแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุดก็คือ ทำอย่างไรถึงจะออกตัวได้อย่างเร็วที่สุดมากกว่า Failure to listen to the market ทั้งนี้ ผู้ลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่ดีต้องรู้จักฟังเสียงจากตลาด เพราะการไม่รับรู้นั้นทำให้เราไม่สามารถตัดใจ Cut Loss ในเวลาอันเหมาะสมได้ จนบางครั้งพลาดโอกาสอันควรไป หรือบางครั้งการมีสัญชาตญาณการดูตลาดจะช่วยให้ท่านทำกำไรได้ เช่น ในช่วงก่อนการบุกคูเวตของซัดดัม ฮุสเซ็น ราคาน้ำมันดิบได้ค่อยๆ ขยับขึ้นอย่างผิดปกติ โดยไม่มีสาเหตุจากปัจจัยพื้นฐาน แต่เทรดเดอร์ Jerry Parker ก็ได้ใช้หลักการตามน้ำโดยการเข้าซื้อ และเมื่อเกิดการบุกคูเวตขึ้นจริงๆ ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงขึ้น แต่อย่าเชื่อมั่นในทฤษฎี หรือความคิดของตนจนเกินไป โดยเมื่อซื้อขายไปแล้ว มีความผิดพลาด ตลาดไม่เป็นไปตามคาด ก็ต้องยอมรับกับสถานการณ์

สุดท้ายแล้ว อย่าซื้อขายมากจนเกินตัว Excessive Leverage ควรมีวินัยในการตั้ง Stop Loss เพื่อจำกัดความเสียหาย โดยเฉพาะในตลาดอนุพันธ์ เมื่อมีผลขาดทุนก็ต้องนำเงินประกันส่วนเพิ่มมาวางเพิ่มเติม ผู้ซื้อขายจึงต้องประเมินความสามารถของตนเองในการกำหนดสถานะที่จะถือครอง สัญญาอนุพันธ์ หลักเบื้องต้นคือ เรามีเงินเพียงพอในการที่จะยอมรับผลขาดทุนได้ หรือมีเงินประกันมาเพิ่มได้อย่างไม่เดือดร้อนในกรณีที่เกิดผลขาดทุนขึ้น อย่าเทรดบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะต้องเสียคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นด้วย

การที่จะซื้อขายหุ้นหรืออนุพันธ์ ต้องมีแผนชัดเจนเรื่องราคาที่เข้าซื้อขาย และกำไรที่คาดการณ์ไว้ แต่อย่าซื้อขายเพราะคาดว่าหรือเขาบอกมา เพราะท่านเองก็ไม่แน่ใจในการซื้อขาย และยังไม่แน่ใจว่าจะทำกำไรเมื่อใด เพราะถ้าท่านมีแผนที่แน่นอนแล้ว หากสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ท่านก็จะตัดสินใจ Cut Loss ได้ง่ายขึ้น




โดยคุณ : เกศรา มัญชุศรี

จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

บทความ "Stress Test" โดย โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์



บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยที่เคยโดดเด่นทั้งด้านผลตอบแทน การลงทุนจากราคาหุ้นที่ปรับสูงขึ้นและมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นได้เปลี่ยน แปลงไปอย่างมากหลังจากดัชนีตลาดหุ้นทำจุดสูงสุดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม การปรับตัวลงของตลาดหุ้นและปริมาณการซื้อขายที่เบาบางลง ทำให้มูลค่าตลาดโดยรวมลดลงกว่า 10 % ในเวลาไม่ถึงสองเดือน

นอกจากไม่มีปัจจัยบวกใหม่ที่มีนัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนตลาดให้กลับขึ้นทำ สถิติสูงสุดใหม่ในอนาคตอันใกล้แล้ว ยังมีหลายปัจจัยลบได้แก่ การผ่อนคลายมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกา สัญญาณเศรษฐกิจจีนที่เริ่มชะลอตัวส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกไทย เงินทุนไหลออกของนักลงทุนต่างชาติ การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ประเด็นการเมืองจากนโยบายซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ความไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ. เงินกู้สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุน 2 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่หน่วยงานต่างๆ ทยอยประกาศออกมาเช่น การปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลดลง แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและกำลังซื้อลดต่ำลง อัตราหนี้ครัวเรือนที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น การลงทุนในประเทศชะลอตัวต่อเนื่อง ล้วนเป็นสัญญาณที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้ กำไรและผลประการการของบริษัทจดทะเบียนทั้งสิ้น

ในการตัดสินใจเลือกลงทุนนั้น นอกจากวิเคราะห์อุตสาหกรรมและกิจการแต่ละแห่งแล้ว นักลงทุนจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานะของบริษัทในทุกสภาวะเศรษฐกิจด้วย ในยามที่ตลาดขาดปัจจัยบวกเช่นปัจจุบัน นักลงทุนควรพิจารณาทำ ‘Stress Test’ หรือ การทดสอบความสามารถรับวิกฤตและความท้าท้ายของหุ้นผ่านสถานการณ์จำลองกรณีเลว ร้ายที่สุด (Worst-case scenario) เพื่อประเมินดูว่าเรามีความพร้อมและสามารถรับมือได้มากน้อยเพียงใดหาก เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง

หากลองทำ Stress Test กลุ่มธุรกิจในตลาดหุ้นไทยในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกส่งผลกระทบทั้งภาค ส่งออกและการบริโภคในประเทศ ปัญหาที่พบและกลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบเป็นดังนี้

การเติบโตของยอดขายและรายได้คือความท้าทายอันดับต้นๆ ยามเศรษฐกิจขาลง เมื่อรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย วิธีที่บริษัทส่วนใหญ่มักเลือกปฏิบัติเพื่อรักษาระดับการทำกำไรคือ ‘การลดค่าใช้จ่าย’ งบโฆษณาประชาสัมพันธ์มักจะเป็นรายจ่ายอันดับต้นๆ ที่ถูกตัดลงแม้สื่อโฆษณาจะยังมีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์โดยรวมต้องเผชิญความท้าทาย ผู้ประกอบการที่ตอบโจทย์ธุรกิจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูง สุดอาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนำไปสู่ความเสี่ยงด้านรายได้ของผู้คนในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อโดยรวม สินค้าและบริการที่ไม่ใช่ความต้องการพื้นฐานอาจต้องได้รับผลกระทบ เช่นกลุ่มธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยวและสันทนาการ แฟชั่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารราคาสูง ผู้บริโภคอาจลดภาระค่าใช้จ่ายโดยเลือกใช้บริการในลักษณะเดียวกันในราคาที่ ย่อมเยากว่า สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์นั้น แม้ยังพบตัวเลขที่เติบโตในระดับที่ดี แต่หากบรรยากาศเศรษฐกิจไม่สดใส ผู้ซื้ออาจชะลอการตัดสินใจออกไปแม้ยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อดีอยู่ ก็ตาม

แม้จะต้องลดภาระค่าใช้จ่ายโดยรวม กลุ่มธุรกิจบางอย่างที่อาจได้รับผลกระผลไม่มากนักเช่น กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม กลุ่มพลังงาน กลุ่มโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจเหล่านี้อาจเผชิญความท้าทายอื่นได้เช่นกัน

ส่วนการทำ Stress Test หุ้นแต่ละตัวนั้น นักลงทุนจะต้องปรับประมาณการผลประกอบการสะท้อนกรณีเลวร้ายที่สุดเพื่อ ประเมิน ‘มูลค่าที่แท้จริง’ และเมื่อราคาหุ้นตกต่ำกว่าระดับดังกล่าว ก็อาจเกิดจากการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่มักใช้ ‘สติ’ และ ‘เหตุผล’ มากกว่า‘อารมณ์’ นั่นเอง

ข้อควรระวังสำหรับนักลงทุนที่เคยได้รับผลตอบแทนดีจากหุ้นเติบโต Growth Stock) คือ เมื่อกิจการมีอัตราการเติบโตลดลง ส่วนเพิ่มระดับราคา Premium) ที่เคยได้รับจะลดต่ำลงด้วย ดังนั้นราคาหุ้นอาจปรับลดลงมากกว่าตลาดโดยรวมจากทั้งสองปัจจัยสำคัญอีกด้วย

ภาวะตลาดหุ้นขาลงเป็นสิ่งที่นักลงทุนระยะยาวต้องประสบไม่เร็วก็ช้า ครั้งหนึ่งวอร์เรน บัฟเฟต์เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าทนเห็นหุ้นที่ถืออยู่ ราคาตกลงไป 50% ไม่ได้ ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น” การทำ Stress Test จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราจินตนาการว่าเรามีความพร้อมและมีแผนรับมือ อย่างไรเมื่อภาวะนั้นมาถึง ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

Credit : Stock2morrow

ไขข้อข้องใจ กลัวอะไรกลับจีน

 ไขข้อข้องใจ กลัวอะไรกลับจีน
เศรษฐกิจอเมริกาทำท่าจะฟื้น จนมาถึงทางที่ Ben Bernanke ต้องคิดหนักว่าจะชะลอ QE ช่วงไหน และทำให้เงินทุนในตลาดเกิดใหม่ไหลออกไปสร้างความปวดหัวให้นักลงทุนไม่น้อย อีกหนึ่งปัญหาที่เริ่มเขย่าตลาดหุ้นทั้งเอเชียนิดๆก็กำลังค่อยๆโผล่ขึ้น ผมขอโอกาสนี้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นในจีน ณ ปัจจุบัน ให้ฟังกันคร่าวๆนะครับ

หากย้อนกลับไปในช่วงหลังวิกฤต Subprime ในปี 2008 เป็นต้นมา จีนประสบปัญหากับการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจมาตลอด ซึ่งสาเหตุก็อย่างที่เรารู้กันว่าเกิดจากยอดเกินดุลการค้าจากการส่งออกไป ตลาดหลักอย่างยุโรป และอเมริกา หดตัวลงอย่างรุนแรงจากการลดการบริโภค และการประสบปัญหาการคลังของโครงสร้างเศรษฐกิจของ 2 ประเทศคู่ค้ารายใหญ่

ดูจากกราฟด้านล่าง จะเห็นว่า ในช่วงก่อน Subprime นั้น การส่งออกของจีน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงเกือบ 45% ของ GDP ทั้งหมด พอเกิดวิกฤตปั๊บ ตัวเลขสัดส่วนส่งออกต่อ GDP ก็ลดลงเหลือไม่ถึง 40% และก็คาดกันว่า ไม่น่าจะขึ้นมาเกินกว่า 40% ได้ในช่วงทศวรรษข้างหน้า ซึ่งหากเทียบกับอเมริกาแล้ว สัดส่วนการส่งออกต่อ GDP น่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่โตเพราะกู้เยอะๆ เน้นการบริโภคในประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับจีนเลยก็ว่าได้




 จีนกำหนดกรอบ GDP Growth ของประเทศไว้ที่ 7.5% จริงๆแล้ว นักวิเคราะห์ทั้งหลายก็ลุ้นๆกันว่า ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว กับไตรมาส 1 ปีนี้ น่าจะได้เห็น GDP ของจีนผงกหัวขึ้น หรือพูดง่ายๆคือ เก็งกันว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่า HSBC, Morgan Stanley, UBS และ Goldman Sachs รวมหัวกันหัน GDP Growth จีนในปีนี้และปีหน้าลง แถมในปีนี้ ยังให้ต่ำกว่า 7.5% ที่รัฐบาลกำหนดไว้เสียอีก เป็นงี้ ทุกคนก็เผ่นครับ!!



 
 ปัญหามันอยู่ตรงไหน ทำไมต้องกลัวจีนกัน?
ส่วนใหญ่ก็ขายแห่ตามกันเพราะความกลัวครับ นักลงทุนจำนวนไม่มากที่รู้ปัญหาของจีนจริงๆจังๆ ปัจจัยที่ทำให้นักวิเคราะห์กังวลกับจีนจริงๆ เกิดจากสินเชื่อที่เติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่รัฐบาลจีนใช้มาตรการนโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายเพื่อรับมือมือกับวิกฤตฝั่งอเมริกาและยุโรป
เอาให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ Fitch Rating ได้ประเมินสินทรัพย์ของภาคธนาคารจีนไว้ และ Credit Suisse ก็ได้เอาตัวเลขนี้มาเผยแพร่ใน Research Paper ตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จากตัวเลข จะเห็นว่า หลังจากวิกฤต Subprime หนี้สินภาครัฐ และภาคเอกชนของจีน โตมาจากเดือน 124% ตอนปี 2003 เป็นล่าสุดเกือบๆ 190% ซึ่งส่วนที่บวมขึ้นมา ไม่ได้มาจากการช่องทางการกู้ยืมธรรมดา แต่มาจากระบบที่เรียกว่า “Shadow Banking”

   
ระบบ Shadow Banking หรือ ระบบธนาคารเงา ก็คือ ระบบ Trust ซึ่งปัจจุบัน กลายเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากระบบธนาคาร (ใหญ่กว่าประกันซะอีก)
ระบบ Trust เกิดจากโมเดลพื้นฐานของรัฐบาลจีน ที่ต้องการผลักให้เกิดการเติบโตด้านสินเชื่อทดแทนการส่งออกที่หดตัว ซึ่งการลงทุนที่ตรงและง่ายที่สุดก็คือ การลงทุนภาครัฐ (G) แต่ปัญหาก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของภาครัฐกลับลดลงต่อเนื่องจากการชะลอตัวของยุโรป และการคอรับชั่นกันเองของข้าราชการ ทำให้จีนติดกับดักสินเชื่อ จำเป็นต้องเพิ่มระดับสินเชื่อขึ้นไปอีก อัดฉีดเงินเข้าไปอีก เพื่อพยุง GDP ให้โตได้ดังใจหวัง

Bank of America Merrill Lynch ประเมินไว้ว่า จีนต้องใช้เงินลงทุน $5 เพื่อให้ GDP โต $3 (ที่หายไป $2 คงรู้นะ ว่าหายไปไหน)
แต่อย่างที่พวกคุณรู้กันว่า รัฐบาลและธนาคารกลางก็กลัวฟองสบู่ ก็เลยใช้วิธี ขึ้นดอกเบี้ย และขึ้น RRR มาตลอด 2 ปีก่อน ทำให้ธนาคารคิดจะปล่อยกู้ก็ลำบาก เลยเลี่ยงด้วยการไปตั้งทรัสต์ โยกย้ายตัวเลขออกนอกงบดุล โอนหนี้ไปให้ Trust แล้วเอาพวกโครงการการภาครัฐเหล่านี้มาผูกกันเป็น Package ขายให้กับลูกค้ารายใหญ่อีกทอด พอได้เงินจากลูกค้า ก็เอามาปล่อยกู้ภาครัฐ แล้วทำเป็นทอดๆแบบนี้ไปเรื่อยๆ
    
หนี้ภาครัฐเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น  (LGFVs) ซึ่งมีปัญหาขาดสภาพคล่องไม่สามารถกู้ธนาคารได้ เพราะโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งต้องใช้ระยะ เวลานานกว่าจะกำไร จึงขาดสภาพคล่องในระยะสั้น การเกิดขึ้นของ Trust จึงเป็นการปล่อยกู้ให้โครงการ LGFVs เหล่านี้ โดยใช้เงินของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งการตรวจสอบไส้ในของ Package เหล่านี้ก็เป็นไปด้วยความยาก ประธานของ Bank of China ถึงกับเรียกผลิตภัณฑ์ตัวนี้ว่าเป็น “แชร์ลูกโซ่” เพราะเงินที่ได้จาก Package ตัวใหม่ บางทีก็เอาไปจ่ายให้กับ Package ตัวเก่าที่กำลังหมดอายุ ซึ่งเป็นการยืดอายุหนี้ให้โครงการรัฐที่ล้มเหลวไปเรื่อยๆ

ขนาดของ Trust เหล่านี้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ Credit Suisse ประเมินว่า เกินกว่า 50% ของสินเชื่อในปี 2555 มาจากระบบ Shadow Banking นี้ เนื่องจากความระมัดระวังไม่ให้ปล่อยสินเชื่อมากเกินไปของรัฐบาลผ่านระบบ ธนาคารธรรมดา

ปัญหาของ Shadow Banking คืออะไร?
ถ้าย้อนกลับไปตอนวิกฤต Subprime ระบบ Shadow Banking นี้ ก็คือ CDOs ดีๆนี้เอง การผิดนัดชำระหนี้ของทรัสต์อาจจะเกิดขึ้นตอนใดก็ได้ และอาจกลายเป็นลูกโซ่ที่มีปัญหาหนักขึ้น ประเด็นก็เพราะ ตัวเลขขนาดของทรัสต์ในปัจจุบัน ไม่มีใครทราบแน่ชัด และไม่มีใครกล้าออกมาเผิดเผยว่า ธนาคารตัวเองถือหุ้นในทรัสต์ที่ไหน และเท่าไหร่บ้าง การเกิด Domino Effect ในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้

หากเทียบกับตอนวิกฤตปี 2008 แล้ว ธนาคารในจีนตอนนี้มีเงินทุนสำรองอยู่ในระดับต่ำกว่าสัดส่วนหนี้อยู่ค่อนข้าง มาก ยิ่งไม่ต้องถามถึงธนาคารขนาดกลาง และขนาดเล็กในจีนเลย ธนาคารเหล่านี้แทบไม่มีเงินสำรองด้วยซ้ำ
   
ดังนั้น เราน่าจะเห็นการให้ความช่วยเหลือระบบธนาคารจากธนาคารกลางและรัฐบาลจีนไม่ช้า ก็เร็ว ซึ่งตอนนั้น คงต้องมาพนันกันว่า มันจะสายเกินไปเหมือนตอน Lehman Brothers หรือเปล่า

พูดมาถึงตรงนี้ น่าจะเห็นภาพไม่มากก็น้อยนะครับว่าเศรษฐกิจจีนตอนนี้ กำลังมีปัญหาที่รัฐบาลและธนาคารกลางต้องเร่งแก้ไขให้ได้

และก็อีกนั้นหล่ะ จีนถือเป็นตลาดส่งออก และตลาดนำเข้ารายใหญ่ของประเทศไทยเรา มีความผูกพันกันสูงในเชิงเศรษฐกิจกับไทย นับจากนี้ไป ผมมองว่า นักลงทุนไทย มีปัจจัยที่ต้องระวังมากขึ้น แต่ไม่ใช่ถึงกับถอนเงินไปฝากธนาคารทั้งหมดนะครับ ทั้งหมดที่ผมคุยในวันนี้ คือภาพปัจจุบันซึ่งเรายังไม่รู้ว่ามันจะพัฒนาไปในทางใด และใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่

เพียงแต่ว่า ... ถ้าดูจากตัวอย่างเหตุการณ์ในอดีตแล้ว มันน่ากังวลอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ถ้าถามผมว่า ตอนนี้กลยุทธ์ของผมคืออะไร ก็ต้องบอกว่า "หลีกเลี่ยงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับจีน และสินค้าโภคภัณฑ์ไปก่อน"

----------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ 
Credit : Puntip