วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

มารู้จัก หุ้นปันผล คืออะไร แถมลูกเล่นทางบัญชี บางอย่าง เช่น การลดทุนตัดขาดทุนสะสม

ช่วงนี้ มีหลายบริษัท จ่ายปันผลเป็นหุ้นกัน และเห็นมีกระทู้ถามเรืองหุ้นปันผลกันบ่อยๆ ลองมาทำความรู้จักหุ้นปันผลกันหน่อยว่ามันคืออะไร

การแจกหุ้นปันผล มันคือ การปันผล พร้อมกับการ ขายหุ้นเพิ่มทุน ในราคาพาร์  โดยค่าหุ้นเพิ่มทุนที่จะจะต้องจ่ายนั้น ทางบริษัทเอาเงินปันผลทีจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นนั่นแหละ มาจ่ายแทน ทำให้เหมือนกับ ว่า ลูกค้าไม่ได้รับเงินปันผล แต่ได้หุ้นแทน หรือ บางกรณี นอกจากจ่ายปันผลเป็นหุ้นแล้ว อาจจะจ่ายเป็นเงินสดร่วม มาด้วยในคราวเดียวกัน ก็ได้

สำหรับ ส่วนของหุ้นปันผลนั้น  ในทางบัญชี ทางบริษัทจะต้องจัดสรร เงินปันผลที่จ่าย ออกมาจากกำไรสะสม ออกมาจ่าย (ทำให้กำไรสะสม ลดลงไปเท่ากับปันผลที่จ่าย) แล้วเอาไปจ่ายเป็นค่าหุ้นเพิ่มทุน ตามทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นแทนผู้ถือหุ้น (ก็รับเงินจำนวนเดิม กลับเข้ามาเป็น เงินค่าหุ้นเพิ่มทุนไปอยู่ในส่วนทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่มขึ้นชดเชยกำไรสะสม ที่ลดลง (ส่วนของผู้ถือหุ้น จึงยังคงมีเท่าเดิม) แต่มีจำนวนหุ้นในมือเพิ่มขึ้นมา

ตัวอย่างหุ้น ตัวนึง ทุนจดทะเบียน 5 ล้านหุ้น  พาร์ 1 บาท รวมทุนจดทะเบียนก็ =  5 ล้านบาท  มีกำไรสะสม อยู่ 5 ล้านบาท (รวมส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือ  5 + 5 ล้าน = 10 ล้าน)

ถ้าหุ้นนี้ มีราคาซื้อขายกันอยู่ในตลาด 20 บาท
เมื่อบริษัท จ่ายหุ้นปันผลให้ ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่

นั่นเท่ากับว่า บริษัท จ่ายปันผล ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม หุ้นล่ะ 20 สตางค์  ถ้าคนมี 5 หุ้น ก็ได้ = 1 บาท

แล้ว เงินปันผล 1 บาทนี้ ไปจ่าย ค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่เพิ่มทุนในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาพาร์ 1 บาท แทนผู้ถือหุ้นเดิม

สุดท้ายคนที่เคยมีหุ้นเดิม 5 หุ้น ก็จะได้หุ้นเพิ่มทุน ราคา พาร์(1 บาท) 1 หุ้น  ที่จ่ายด้วยเงินปันผลของตัวเอง 5หุ้น หุ้นละ 20 สตางค์  ก็จะกลายเป็นมีหุ้นเพิ่มมา เป็น 6 หุ้น 
ส่วนราคาซื้อขายในตลาด ก็จะมีการ Dilute ลงมาตามการคำนวน (20X5 )+1 = 101/6 = ประมาณ  16.83 บาท

ในด้าน บัญชีของบริษัท เมื่อจ่ายปันผลออก มาหุ้นล่ะ 20 สตางค์ สำหรับ หุ้นทั้งหมด 5 ล้านหุ้น เท่ากับจ่ายปันผล ออกมา 1 ล้านบาท กำไรสะสม จะเหลือ แค่ 4 ล้าน

ส่วน จำนวนหุ้นจดทะเบียน ก็จะเพิ่มมาเป็น 6  ล้านหุ้น ทุนจดทะเบียนก็จะเพิ่ม จาก  5 ล้าน เป็น 6 ล้านบาท และ อย่างที่บอกส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเป็น 6 +4 ล้าน หรือ = 10 ล่้านคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

การจ่ายอย่างนี้ ทำให้บริษัทยังคงมีเงินสดในมือ ใช้บริหารเท่าเดิม แค่ย้ายกำไรสะสม มาเป็น ทุนจดทะเบียน

ผู้ถือหุ้นได้หุ้นเพิ่มปลอบใจ แม้ราคาต่อหุ้นในตลาดอาจจะลดลงไปบ้าง แต่บางที มันก็ลงมาไม่มากเท่าราคาตามการคำนวนทำให้เห็นกำไรโผล่มาในพอร์ตบ้าง



แต่ในด้านทางตรงกันข้าม ก็มีเหมือนกันที่ บางบริษัทขาดทุนสะสม ก็ จะทำการ ลดทุนจดทะเบียนลง เอาตัวเลขฝั่งทุนจดทะเบียน ไป หักล้างขาดทุนสะสม ก็มีเช่นกัน  การทำแบบนี้่ ทุนจดทะเบียน ของบริษัทจะลดลง แต่ ส่วนของขาดทุนสะสม ก็จะลดลงไปในจำนวนเท่ากัน แต่ ส่วนของผู้่ถือหุ้น ก็ยังคงมีเท่าเดิม  ไม่เปลี่ยนแปลง

ในบางกรณี ที่จะลดทุน อาจจะมีการรวบหุ้น หรือ รวม Par  ให้เหลือจำนวนหุ้นน้อยลง(แต่พาร์เพิ่มขึ้นก่อน) แล้ว ค่อยลดทุนลงทีหลังก็ได้   ถ้าแบบนี้คนที่ถือหุ้นอยู่ ก็จะมีจำนวน หุ้นในมือลดลง แต่ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้้นมา ชดเชย เช่นกัน

ตัวอย่าง ก็เหมือนที่หุ้น GEN  กำลังจะทำตอนนี้  ที่จะทำการรวบหุ้นเดิม จาก 3 หุ้นเดิม พาร์ 10 บาท เหลือเป็น 1 หุ้นใหม่30  บาท ก่อนที่จะลดทุน ลดพาร์จาก 30 บาท เหลือ 90 สตางค์)  ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียน และส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างมาก ไปล้างตัวเลขขาดทุนสะสมทางบัญชี (แต่ว่า เค้าไม่ได้ทำแค่นี้ มีการเพิ่มทุนขายหุ้นเพิ่มทุนกลับมาใหม่ เพิ่มดึงเม็ดเงิน เพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น เติมเงินกลับเข้าบริษัท เพื่อจะได้มีเงินไปดำเนินงาน ลงทุนต่อไปได้ ถ้าไม่เอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เหมือนคราวก่อนๆ ตามที่เคยเล่าไว้ในกระทู้นี้)

http://pantip.com/topic/30227534

แล้วการลดทุน เพื่้อล้าง หรือ ลดการขาดทุนสะสม มันมีประโยชน์ หรือ ข้อดีอย่างไร หรือไม่

ข้อดีหรือประโยชน์ของมันอันนึงก็คือ บางครั้ง บางบริษัท เคยมีการขาดทุนสะสมมาเก่าอยู่มาก  ยังล้างไม่หมด แต่ระยะหลังเริ่มมีผลประกอบการ ดีขึ้นมีกำไร มีเงินสด ในมือมากพอ ที่จะจ่ายปันผล ตอบแทนผู้ถือหุ้นได้ แต่ ติดที่ว่ายังมีขาดทุนสะสมอยู่ กฏหมายจะห้าม ไม่ให้ปันผล เพราะว่าปันผล จะทำได้ จากกำไรสะสมเท่านั้น ดังนั้นพวกนี้ ก็จะทำการลดทุน ล้างขาดทุนสะสม ให้หมดก่อน แล้ว เมื่อมี ตัวเลขผลกำไรใหม่ เพิ่มเข้ามา ก็จะทำการจ่ายปันผลได้  จากเงินสดที่มีในมือ

เหมือนครั้งนึง  Bland ( อีกแล้ว) เคยจะทำการลดทุน เมื่อราวๆ ปีสองปีก่อน เพื่อทีจะจ่ายปันผลให้ได้เป็นครั้งแรก แต่ว่า โดนเจ้าหนี้ทักท้วง ทำให้การลดทุนต้องล้มไป (ก่อนทำการลดทุนต้องแจ้งขอมติ ตลาด แจ้ง และรอการคัดค้านจากเจ้าหนี้ ถ้ามีเจ้าหนี้ ซึ่งถือว่ามีส่วนได้เสียโดยตรง คัดค้านก็ทำการลดทุนไม่ได้) แต่ คราวนั้นเสี่ยช้าง แกก็ก็๋เดินเกมส์ต่อ โดยการโอนปันผล จากบริษัทลูก Bland Cayman คืนกลับมาให้ บริษัทแม่ล้างขาดทุนสะสม จนหมด และทำการปันผลได้ เป็นคร้งแรก ในรอบเกือบยี่สิบปี  เมือรอบบัญชีปีที่แล้ว  นี่เอง (การโอนเงินปันผล คราวนั้น(ถ้าจำไม่ผิดตัวเลขเหมือนจะเป็นแปดพันล้าน)  ก็ไม่ได้โอนเงินสดกัน มาจริงแค่โยกตัวเลขทางบัญขีแค่นั้น) แต่เงินปันผลที่จ่าย นี่จ่ายจากเงินสดที่เหลือในบริษัท หุ้นล่ะ 2 สตางค์ หมื่นเจ็ดพันล้านหุ้น ก็จ่ายออกมาราว 340 ล้านบาท แต่ได้ใจ และเสียงปรบมือ จากผู้ถือหุ้นที่รอคอยกันมานาน เป็นสิบปี ไปได้คุ้ม อิๆ เด๋วรอปีนี้ มีกำไร เพิ่ม อีกมากกว่าเดิมเยอะ และยิ่งถ้าได้เงินเพิ่มทุน จาก W2 และขายกองทรัสต์เข้ามา คราวนี้เงินสดเต็มมือ ดูสิ เสี่ยช้าง จะปันผลเท่าไร ยิ้ม ยิ้ม

พวกลูกเล่นพวกนี้ ฝ่ายบัญชี เค้าชอบใช้กัน ตามสถาณะการณ์ คนเล่นหุ้น รู้จักไว้มั่งก็ดีครับ จะได้ตามเค้าทัน

คุยให้ฟังกันเล่นๆ พอได้ไอเดีย ใครมีอะไรเพิ่มเติม  แก้ไข ให้ข้อมูลกับ เพื่อนๆ เชิญนะครับ ช่วยๆกัน เสริมความแข็งปีกเม่ากัน อิ

ขอขอบคุณ บอร์ดสินธร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น